วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

เนคเทคเจ๋งผลิตอุปกรณ์เตือนความร้อนรถยนต์เครื่องแรกในไทย

เนคเทคเจ๋งผลิตอุปกรณ์เตือนความร้อนรถยนต์เครื่องแรกในไทย




เมื่อวันที่ 29 เม.ย. นายเอกราช รัตนอุดมพิสุทธ์ หัวหน้าโครงการอุปกรณ์แจ้งเตือนกรณีเครื่องยนต์มีความร้อนผิดปกติ พัฒนาเครื่อง ศูนย์เทคโนโยลีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ทีเมค) ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ (เนคเทค) กล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นของนักวิจัยที่ต้องการให้ผู้ขับขี่รถยนต์ทราบถึงระดับ อุณหภูมิของรถยนต์ก่อนที่จะเกิดอันตรายในการขับขี่ จึงเกิดการวิจัยอุปกรณ์แจ้งเตือนเครื่องยนต์มีความร้อนผิดปกติ ช่วยให้ผู้ขับขี่รถยนต์ง่ายต่อการสังเกตความผิดปกติของเครื่องยนต์ สามารถแก้ไข ซ่อมแซมก่อนเกิดความเสียหายที่รุนแรง ประหยัดค่าใช้จ่ายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท

โดยขั้นตอนทำงาน ของเครื่องดังกล่าว จะแสดงอุณหภูมิของเครื่องยนต์และภายในห้องโดยสารด้วยหน้าจอแอลซีดีแสดงผล เป็นตัวเลข และระดับสีเขียวเหลืองและแดง ติดตั้งง่าย เพียงติดเซ็นเซอร์ไว้กับเครื่องยนต์ โดยไม่ต้องตัดท่อน้ำ สามารถบันทึกอุณหภูมิด้วยเมมโมรี่การ์ด 1 กิกะไบท์ (SD Memory) ปรับตั้งอุณหภูมิตามความเหมาะสมแต่ละรุ่น และเตือนภัยได้ 2 ระดับคือ แจ้งเตือนเมื่อพัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำหยุดทำงาน และเมื่อเครื่องยนต์มีอุณหภูมิสูงผิดปกติ นับเป็นเครื่องแรกของประเทศไทย ที่สามารถแจ้งเตือนได้ถึง 2 ระดับ นอกจากนี้ ยังมีแบตเตอรี่สำรองบันทึกอุณหภูมิได้ตลอดเวลาแม้ไม่ได้ขับขี่ยานพาหนะ

นาย เอกราช กล่าวด้วยว่า หลังจากทดลองใช้งานจริงในรถยนต์ส่วนตัว และรถกระบะ พบว่าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังติดตั้งเพื่อใช้งานได้ในรถประจำทาง และรถที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เสริมด้วย เพราะสามารถติดตั้งง่ายไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ โดยเครื่องลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะมีราคาประมาณ 2,000 บาท อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ใช้งบประมาณจากเนคเทคจำนวน 500,000 บาท ระยะเวลากว่า 2 ปี โดยปี 2553 ตั้งเป้าผลิตประมาณ 1,000 เครื่อง ซึ่งได้รับความสนใจจากบริษัทเอกชนที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ขนาดย่อมด้วย โดยจะเริ่มวางจำหน่ายช่วงเดือน มิ.ย. 2553 จำนวน 100 เครื่องรับประกัน 1 ปี ขณะที่คาดการณ์ว่า จะพัฒนาเครื่องวัดอุณหภูมิน้ำมันในอนาคตด้วย


ที่มาจาก www.vcharkarn.com

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

เพลาข้อเหวี่ยง (CRANKSHAFT)

เพลาข้อเหวี่ยง (CRANKSHAFT)


เพลาข้อเหวี่ยง (CRANKSHAFT)


แรง ขับที่ใช้ในการขับเคลื่อนล้อของรถยนต์ ได้มาจากการเคลื่อนตัวขึ้นลงของก้านสูบและผลจากหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงเพลา ข้อเหวี่ยงได้รับแรงจากลูกสูบและก้านสูบทำให้หมุนด้วยความเร็วสูงด้วยเหตุ นี้มันจึงทำจากเหล็กไฮเกร็ดผสมคาร์บอนซึ่งมีความทนต่อการสึกกร่อนสูง





ข้อเจอร์นัลถูกรองรับด้วยแบริ่งเพลาข้อเหวี่ยงของห้องเพลาข้อเหวี่ยง และเพลาข้อเหวี่ยงหมุนรอบข้อเจอร์นัลนี้ข้อเจอร์นัลแต่ละข้อมีแขนเพลาข้อ เหวี่ยงประกอบอยู่ ข้อเพลาข้อเหวี่ยงติดตั้งอยู่บนเพลาข้อเหวี่ยงเยื้องศูนย์กับแกนของเพลา น้ำหนักถ่วงประกอบอยู่ดังรูป เพื่อลดแรงความไม่สมดุลย์ของการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานที่เพลาข้อเหวี่ยงมีรูน้ำมันเพื่อใช้ส่งน้ำมันหล่อ ลื่นให้กับข้อเจอร์นัล แบริ่งก้านสูบ และสลักก้านสูบ


เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft) เป็น ส่วนที่สำคัญของเครื่องยนต์ ทำจากเหล็ก กล้าที่มีคาร์บอนสูง หรือเหล็กกล้าผสมนิดเกิล โครเมียม และโมลิบดินั่ม ใช้วิธีเผา ตีขึ้นรูป แล้วใช้เครื่องมือกล กัด กลึง ให้เป็นรูปตามต้องการ ในเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ที่จัดวางสูบเป็นแถวเดียว และมีหลายสูบ เพลาข้อเหวี่ยงอาจทำเป็นสองท่อนมีหน้าแปลนตรองปลายสำหรับยึดให้ติดกัน เพลาข้อเหวี่ยงจะต้องแข็งแรงต้านทานแรงที่จะทำให้เพลาคดหรือโค้งได้ นั่นคือ แรงที่กระทำเป็นเส้นตรงจากลูกสูบผ่านก้านสูบมายังเพลาข้อเหวี่ยงและยังต้อง ทนต่อแรงบิดที่เกิดจากก้านสูบ ซึ่งพยายามดันให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุนรอบตัวด้วย เพลาข้อเหวี่ยงจะต้องนำมาชุบแข็ง เพื่อลดแรงดันที่เกิดขึ้นในเนื้อโลหะ ซึ่งเกิดจากการตีขึ้นรูป และเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อโลหะด้วย การชุบแข็งที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทำให้เนื้อโลหะด้านนอกร้อนเร็ว นิยมใช้ชุบผิวเพลาข้อเหวี่ยงส่วนที่จะต้องเกิดการเสียดสี ให้มีผิวแข็ง ทนทานต่อการสึกหรอ แต่เนื้อโลหะภายในยังคงเหนียวเหมือนเดิม ผิวของเลาส่วนที่หมุนในแบริ่งจะต้องได้รับการเจียระนัย และขัดเป็นพิเศษเพื่อให้ได้ผิวที่เรียบจริง

ที่มาจาก http://engineerknowledge.blogspot.com

เพลาลูกเบี้ยว

เพลาลูกเบี้ยว


เพลาลูกเบี้ยว ( Camshaft )

เพลาลูกเบี้ยว เป็นเพลาหมุน ที่ถูกสร้างให้บริเวณแกนเพลามีชิ้นโลหะยื่นออกมาในรูปทรง "รูปไข่" โลหะที่ยื่นออกมาจากแกนเพลาที่เป็นรูปไข่นี้เอง เรียกว่า "ลูกเบี้ยว" เมื่อเวลาแกนเพลาหมุน ลูกเบี้ยวก็จะหมุนตามไปกับเพลา


หน้าที่ของเพลาลูกเบี้ยว

เพลา ลูกเบี้ยว ทำหน้าที่ควบคุมการเปิดวาล์วไอดี (ปิดวาล์วไอเสีย) เพื่อให้ไอดีไหลเข้ามาสู่ห้องเผาไหม้ และเปิดวาล์วไอเสีย (ปิดวาล์วไอดี) เพื่อให้ไอเสียไหลออกไป สรุปคือ เมื่อเพลาลูกเบี้ยวหมุนเมื่อใด ก็จะต้องมี การเปิด-ปิดของวาล์ว (Valve) เกิดขึ้นเมื่อนั้น


การติดตั้งของเพลาลูกเบี้ยว

เครื่องยนต์รุ่นเก่า จะมีเพลาลูกเบี้ยว เป็นแกนอยู่ภายในห้องเสื้อสูบ (ห้องเครื่อง) ซึ่งได้รับแรงหมุนมาจาก เพลาข้อเหวี่ยงอีกที เครื่องยนต์ที่มีเพลาลูกเบี้ยวติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องนี้ เวลาเพลาลูกเบี้ยวหมุน ก็จะไปดันเอาลูกกระทุ้ง (Cam follower) ให้ไปดันเอาก้านกระทุ้ง (Push rod) ซึ่งแกนอีกด้านหนึ่งของก้านกระทุ้ง ก็จะไปดันกระเดื่องวาล์ว (Rocker arm) ให้ไปกดวาล์วให้เปิดออก เมื่อวาล์วเปิดออก ก็จะส่งผลให้ มีการถ่ายเทอากาศ ในห้องเผาไหม้ (วาล์วที่ติดตั้งอยู่เหนือห้องเผาไหม้เรียกว่า Over Head Valve หรือ OHV) ส่วนเครื่องยนต์ที่มีการติดตั้งเพลาลูกเบี้ยวอยู่ด้านบนของฝาสูบ เรียกว่า Over Head Camshaft หรือ OHC การทำงานในลักษณะนี้ จะไม่ใช้ก้านกระทุ้งในการส่งต่อกำลัง เพราะเพลาลูกเบี้ยว จะควบคุมการ เปิด-ปิดวาล์วด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นการควบคุมการทำงานโดยตรง และลดชิ้นส่วนอุปกรณ์ให้น้อยลงด้วย เครื่องยนต์ OHC ส่วนใหญ่จะใช้ลูกเบี้ยว ในการควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วโดยตรง แต่ก็อาจมีเครื่องยนต์บางรุ่น ที่ใช้กระเดื่องวาล์ว ในการทำงาน เครื่องยนต์ใดใช้เพลาลูกเบี้ยวแกนเดียว ติดตั้งอยู่เหนือฝาสูบ ในการควบคุมการเปิด-ปิด การทำงานของวาล์ว เรียกเครื่องยนต์นั้นว่า มีการทำงานแบบ Single Over Head Camshaft หรือ SOHC ต่อมามีการออกแบบ ให้มีเพลาลูกเบี้ยวอยู่ 2 แกน ติดตั้งอยู่คู่ขนานกัน แกนหนึ่ง ควบคุมการเปิด-ปิดไอดีโดยเฉพาะ ส่วนอีกแกนหนึ่ง ควบคุมการเปิด-ปิด ไอเสียโดยเฉพาะเช่นกัน เรียกเครื่องยนต์นั้นว่ามีการทำงานแบบ Doble Over Head Camshaft หรือ DOHC ที่เราสามารถเห็นตัวอักษรนี้ พิมพ์ติดอยู่บนฝาวาล์ว ของรถนั่นเอง


วิธีการหมุนของแกนเพลาลูกเบี้ยว

แกนเพลาลูกเบี้ยว ได้รับแรงฉุดให้หมุน จากเพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) ซึ่งตัวกลางที่ส่งผ่านแรงฉุดนี้ มี 3 ชนิด คือ

1.สายพานราวลิ้น (Timing belt)

2.เฟืองราวลิ้น (Timing gear

3.โซ่ราวลิ้น (Timing chain)

ที่มาจาก http://engineerknowledge.blogspot.com

ผลิตเครื่องยนต์ประหยัดเชื้อเพลิง

ผลิตเครื่องยนต์ประหยัดเชื้อเพลิง


นับ เป็นครั้งแรกที่จีเอ็ม และเอสเอไอซี จับมือกันพัฒนาระบบขับเคลื่อนอันก้าวล้ำ เครื่องยนต์ขนาดเล็กจะเป็นอาวุธหลักในการรุกตลาดที่มีความสำคัญยิ่งทั่วโลก ระบบเกียร์ใหม่ พร้อมดูอัล-คลัตช์ ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงยิ่งขึ้น

.

.

จีเอ็ม ประกาศขยายความร่วมมือกับเอสเอไอซี บริษัทผู้ผลิตยานยนต์ของจีน เดินหน้าพัฒนาเครื่องยนต์เบนซินขนาดเล็กและระบบเกียร์อันก้าวล้ำอนาคต โดดเด่นที่ความประหยัดเชื้อเพลิง พร้อมอัตราเร่งที่เหนือกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบัน ปูทางสู่การเป็นบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ที่ดีที่สุดในโลก

.

การขยายขอบเขต ความร่วมมือในครั้งนี้ เริ่มต้นขึ้นจากการลงนามร่วมกันระหว่าง มร.ทอม สตีเฟนส์ รองประธานฝ่ายดำเนินงานผลิตภัณฑ์ของจีเอ็ม และ มร.เฉิน ฮอง ประธานกรรมการของเซี่ยงไฮ้ ออโตโมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น หรือเอสเอไอซี ที่มหานครเซี่ยงไฮ้ สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นพันธมิตรอันแน่นแฟ้นระหว่างจีเอ็ม และเอสเอไอซี ที่มีแนวทางร่วมกันคือการสร้างสรรค์ระบบขับเคลื่อนอันสมบูรณ์แบบ และจะถูกบรรจุไว้ในยานยนต์ที่ดีที่สุดในโลก

.

“การร่วมมือกัน พัฒนาเครื่องยนต์ และระบบส่งกำลังรุ่นใหม่นี้ เกิดขึ้นจากการเป็นพันธมิตรในการร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมมาอย่างยาวนานระหว่าง จีเอ็ม และเอสเอไอซี มอเตอร์” มร.สตีเฟนส์ กล่าว “เมื่อเราทำงานร่วมกัน เราจะสามารถสร้างสรรค์เทคโนโลยีซึ่งจะช่วยประหยัดเชื้อเพลิง พร้อมกับสมรรถนะอันยอดเยี่ยมมอบให้แก่ลูกค้า”

.

เครื่องยนต์ เบนซินรุ่นใหม่นี้ จะมีขนาดตั้งแต่ 1.0 ลิตร ถึง 1.5 ลิตร ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีความสำคัญยิ่งในระดับโลก ด้วยขนาดที่เล็ก น้ำหนักเบา ใช้ระบบหัวฉีดไดเรคอินเจคชั่น รวมถึงมีระบบเทอร์โบชาร์จ จะทำให้ลูกค้าได้สัมผัสกับสมรรถนะ และอัตราความประหยัดที่เหนือกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องยนต์รุ่นใหม่นี้จะเป็นหัวใจขับเคลื่อนในยานยนต์ของจีเอ็ม และเอสเอไอซี มอเตอร์ในประเทศจีน รวมถึงรถที่จะเปิดตัวในอนาคตอีกด้วย

.

การพัฒนาด้าน วิศวกรรมของเครื่องยนต์รุ่นใหม่นี้ จะเป็นการร่วมมือกันของทีมวิศวกรของจีเอ็ม ในดีทรอยท์ และทีมวิศวกรของเอสเอไอซี จากศูนย์เทคนิคยานยนต์แพนเอเชีย หรือพาแทค ซึ่งเป็นกลุ่มร่วมทุนด้านการพัฒนาวิศวกรรม และการออกแบบในเซี่ยงไฮ้

.

เครื่องยนต์ รุ่นใหม่ที่จะถ่ายกำลังลงพื้นด้วยระบบขับเคลื่อนล้อหน้านี้ จะใช้เทคโนโลยีล่าสุดเพื่อยกระดับความประหยัด และอัตราเร่ง ผนวกกับระบบเกียร์อันทันสมัยที่จะช่วยเพิ่มความประหยัดเชื้อเพลิงได้อีกถึง 10 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับระบบเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีดที่มีอยู่ในปัจจุบัน

.

นอกจากนี้ ระบบเกียร์ดังกล่าวยังใช้เทคโนโลยีดูอัล-คลัตช์แบบแห้ง ซึ่งช่วยในเรื่องความลื่นไหล สะดวกสบาย ยิ่งกว่าระบบเกียร์อัตโนมัติทั่วไป อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย

.
เมื่อ ผนวกทุกเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน จะช่วยลดการปล่อยมลพิษลงได้สูงสุดถึง 20 เปอร์เซนต์ เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ และระบบเกียร์ที่ผลิตในประเทศจีน เวลานี้
.

“ข้อตกลงความ ร่วมมือพัฒนาระหว่างจีเอ็ม และเอสเอไอซี ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่อันน่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง” หู เหมาหยวน ประธานใหญ่เอสเอไอซี มอเตอร์ กล่าว “ไม่เพียงแต่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หากจีเอ็ม และเอสเอไอซี ยังร่วมกันคิดค้นระบบวิศวกรรมอันก้าวหน้า พร้อมกับมีความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย”

ที่มาจาก www.thailandindustry.com

ความหมาย O-ring (โอริง)

ความหมาย O-ring (โอริง)


O-ring = โอ-ริง หมายถีงแหวนยางรูปวงกลมหรือรูปตัวโอ ก็เลยเรียกโอ-ริง ไม่ใช่ยี่ห้อของประเทศอะไรทั้งนั้น ใช้งานเพื่อกันกระแทกหรือป้องกันการรั่วซึม โซ่แบบโอ-ริงคือโซ่ที่จรงข้อต่อโซ่ปกติจะมีจารบีเคลือบชิ้นส่วนภายในอยู่ ถ้าเป็นโซ่แบบธรรมดาเวลาล้างหรือใช้งานไปนานๆจารบีจะหลุดออกมา การหล่อลื่นจะลดลง แต่แบบโอ-ริงจะมีแหวนยางตัวเล็กๆทำหน้าที่กั้นไมให้จารบีภายในข้อต่อไหลออก มาและป้องกันน้ำหรือสิ่งสกปรกเข้าไปภายใน ทำให้ใช้งานได้คล่อง ลื่นดีกว่าและทนกว่า Ohlins = โอลีน (ออกเสียงว่า OH-LEEN) เป็นยี่ห้อของผู้ผลิตอุปกรณ์กันสะเทือนและอุปกรณ์ไฮดรอลิคส์จากประเทศสวีเดน ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตช็อคอับที่ดีที่สุด นิยมใช้ในรถราคาแพงและรถแข่ง

ผลิตภัณฑ์โอริง จากผู้ผลิตชั้นนำ ทั้งจากยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่น แนะนำโอริงคุณภาพสูง สำหรับ การใช้ในอุตสาหกรรม ต่าง โอริงที่นิยม ใช้กันมาก ในอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับไฮดรอลิกนั้น ต้องทนน้ำมันได้ดีโดยส่วนมาก ที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วๆไปจะเป็นยาง "ไนไทรล์" (nitrile)หรือ NBR โอริงที่ดีนั้น ต้องเป็นโอริงที่สามารถ ทนความร้อน ในอุณหภูมิระหว่างการทำงาน ได้ตั้งแต่ -40? Cจนถึง +110? C โดยมีความแข็ง วัดได้ตามมาตรฐานที่ 70? Shore A ถ้าต้องการ โอริงที่ทนความร้อน ได้ถึง+230? C นั้น ยาง "ฟลูโอโรคาร์บอน"หรือ "ไวตัน" (viton) จะเป็นที่นิยมใช้กันมาก ในลักษณะงาน ที่เกี่ยวข้องกับ ความร้อนสูง ฉะนั้นแล้ว ควรจะรู้ให้ละเอียดว่า ต้องการโอริง ไปใช้กับลักษณะงานประเภทใด มีเคมี เข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยหรือไม่ และ ใช้สารเหลวอะไร ในการทำงาน เพี่อที่ทางผู้จำหน่าย จะได้แนะนำเนื้อยาง (material) ให้ถูกต้องกับงานนั้น เพราะ เนื้อยาง มีให้เลือกมากกว่า10 ชนิด เพื่อให้เหมาะสม กับลักษณะงานของท่าน โอริง ยังมีให้เลือกขนาด ตามต้องการ โดยมีขนาดวงใน ที่ใช้กับงานทั่วไป ตั้งแต่ 0.74 mm. จนถึง 1560 mm. และมีขนาดของความหนา ให้เลือกตั้งแต่1.0 mm.จนถึง 10.00 mm. หรือ ถ้าเป็นโอริงขนาดพิเศษ ก็สามารถสั่งทำได้ โดยอาจจะมีจำนวนขั้นต่ำ ที่กำหนด โดยผู้ผลิตชั้นนำ อย่างเช่น Parker (สหรัฐอเมริกา), EVCO (ฝรั่งเศส), Eriks (ฮอลแลนด์), Skega (สวีเดน), NOK (ญี่ปุ่น)

ที่มาจาก http://engineerknowledge.blogspot.com

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

Hydrogen Car

Hydrogen Car ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นและยังมีความผันผวนทำให้ภาครัฐรณรงค์ประหยัดพลังงาน อย่างหนัก ส่วนอีกซีกหนึ่งของโลกก็กำลังขะมักเขม้นค้นคว้านวัตกรรมยานพาหนะแบบไม่ใช้ น้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง รถยนต์พลังไฮโดรเจน เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันที่แพงขึ้นกอปรกับปริมาณสำรองที่ลดลงในระยะยาว เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา รถแข่งที่ชื่อ H2Rจากค่าย BMW ได้ทำการเปิดตัวในงานมอเตอร์โชว์ที่เมืองลอสแองเจริส ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดเด่นของรถดังกล่าวคือ ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง รถคันนี้ของ BMW มีจุดต่างคือเป็นรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในแต่ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อ เพลิง ซึ่งต่างจากรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง . จริง ๆ แล้วรถนี้ใช้เครื่องยนต์ชนิดเดียวกับรถซีดานรุ่น 760i มีกำลัง 286 แรงม้า อัตราเร่ง 0-60 ไมล์/ชั่วโมง ภายใน 6 วินาที และวิ่งได้เร็ว 187 ไมล์/ชั่วโมง จาการทดสอบที่สนามแข่ง Miramas ประเทศฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์คล้าย ๆ กับค่ายรถอื่น ๆ กล่าวคือมีความตระหนักถึงราคาน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้น ปริมาณน้ำมันบนโลกลดน้อยลง และรักษาสิ่งแวดล้อม และได้คำนึงถึงปัญหาเรื่องปริมาณปั๊มจำหน่ายไฮโดรเจนยังมีไม่แพร่หลาย ซึ่งยังมีไม่ถึง 100 แห่งทั่วโลก
รถคันนี้จึงถูกออกแบบให้ใช้ Bi-fuel ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งไฮโดรเจนหรือน้ำมันเบนซิน (เช่นเดียวกับ รถ Taxi บ้านเราที่เติมได้ทั้งน้ำมันเบนซินและ ก๊าซ NGV) ถ้าขับในเขตเมืองจะใช้ไฮโดรเจนแต่ถ้าขับบนทางด่วนหรือมอเตอร์เวย์ เพียงกดปุ่มให้เปลี่ยนไปใช้น้ำมันเบนซิน และเมื่อขับอยู่ในโหมดไฮโดรเจนจนกระทั่งเกิน 345 KM โปรแกรมจะเปลี่ยนไปใช้น้ำมันอย่างอัตโนมัติได้อีก 800 KM . ถึงแม้ว่าการเผาไหม้ไฮโดรเจนของเครื่องยนต์สันดาปภายในจะยังก่อให้เกิดมล ภาวะต่อสิ่งแวดล้อมคือปลดปล่อย NOx ออกมาเล็กน้อย ในขณะที่รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไม่ปลดปล่อยมลพิษออกมานอกจากน้ำ . แต่ BMW ย้ำว่าระดับ NOx ที่ออกจากท่อไอเสียอยู่ในระดับต่ำมาก ๆ และต่ำกว่าระดับมาตรฐานการปล่อยมลภาวะจากยานพาหนะของรัฐแคลิฟอร์เนีย (Super Ultra Low Emission Vehicle) ซึ่งจัดว่าเข้มงวดมาก ส่วนอีกประเด็นที่ยังมีการตั้งคำถามคือความปลอดภัย เนื่องจากรถนี้ใช้ไฮโดรเจนเหลว ซึ่งต้องเก็บภายใต้อุณหภูมิต่ำมาก (-253 ๐C)
ถ้ารถยนต์มีการใช้งานเป็นประจำระบบ Cryogenic จะควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติแต่ถ้าจอดรถยนต์ทิ้งไว้ 3-4 วัน ของเหลวจะเริ่มเดือดและไฮโดรเจนจะถูกปลดปล่อยทางท่อระบายอากาศ แต่ไฮโดรเจนมีอันตรายน้อยกว่าไอระเหยจากน้ำมันเบนซินเนื่องจากไฮโดรเจนมี น้ำหนักเบาจึงกระจาย เจือจางอย่างรวดเร็ว ซึ่งแม้กระทั่งถังไฮโดรเจนรั่วยังไม่ระเบิดเลย . BMW กำหนดแผนที่จะทำตลาดรถรุ่น BMW ซีรี่ส์ 7 ใช้ไฮโดรเจนในยุโรปในอีก 3 ปีข้างหน้า และคาดว่าจะออกสู่ตลาดอเมริกาประมาณปี 2010 เมื่อถึงเวลานั้นปั๊มจำหน่ายไฮโดรเจนให้เห็นมากขึ้นในเมืองใหญ่ ๆ . รัฐบาลเยอรมันให้การสนับสนุนการพัฒนาปั๊มจำหน่ายไฮโดรเจน โดยมีเครื่องผลิตไฮโดรเจนภายในปั๊มเองเพื่อจะได้ไม่ต้องพึ่งท่อส่งไฮโดรเจน หรือรถบรรทุกไฮโดรเจนที่ยังต้องใช้น้ำมันดีเซลในการขนส่งอีก รัฐบาลสหรัฐจัดสรรงบประมาณ 190 ล้าน USD ระยะเวลา 5 ปี เพื่อสร้างปั๊มจำหน่ายไฮโดรเจน และบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ Shell Oil และ บริษัทผลิตรถยนต์ GM ร่วมกันเปิดปั๊มไฮโดรเจนแห่งใหม่ที่วอชิงตัน . ส่วนรัฐแคลิฟอร์เนียได้เซ็นต์สัญญาว่าจ้างบริษัท Air Products & Chemicalsซึ่งเป็นบริษัทเชี่ยวชาญด้านผลิตไฮโดรเจนของโลกซึ่งมีประสบการณ์ สร้างปั๊มไฮโดรเจนมาแล้ว 30 แห่งทั่วโลก เพื่อทำการก่อสร้างปั๊มจำหน่ายไฮโดรเจน 24 แห่งในรัฐแคลิฟอร์เนีย
สำหรับเทคโนโลยีในการผลิตไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์พลังไฮโดรเจนได้แก่ วิธีอิเล็กโตรไลซิส (Electrolysis) ใช้น้ำเป็นวัตถุดิบ และวิธีการเผาไหม้ไพโรไลซีส ใช้ชีวมวลพวกเศษไม้ หรือของเหลือทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ โดยวิธีอิเล็กโตรไลซีสเป็นเทคโนโลยีที่คุ้มค่าสำหรับประเทศที่มีราคาน้ำมัน เบนซินแพง ๆ อย่างประเทศในยุโรป . โดยประเทศเยอรมันกำลังทดลองสร้างปั๊มไฮโดรเจนที่ใช้ระบบอิเล็กโตรไลซิสและ ใช้พลังงานลมในการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ ที่ต้นทุน 2 USD/kg ไฮโดรเจน แต่วิธีอิเล็กโตรไลซิสอาจจะไม่เหมาะกับประเทศสหรัฐ เนื่องจากระบบอิเล็กโตรไลซิสต้องใช้ไฟฟ้าในการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ ต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนด้วยวิธีนี้ประมาณ 2.5 USD/kg ไฮโดรเจน (1 kg ไฮโดรเจน ให้พลังงานเทียบเท่า 1 แกลลอนน้ำมันเบนซิน) . แต่อย่างไรก็ตามทางสหรัฐยังมีความพยายามที่จะพัฒนาระบบอิเล็กโตรไลซิสมาใช้ ในประเทศตามความเหมาะสม กล่าวคือจะเลือกใช้เทคโนโลยีนี้กับพื้นที่ ๆ มีแหล่งผลิตไฟฟ้าราคาถูกจากพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ ดังรูปแผนที่แสดงศักยภาพของชีวมวล พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศสหรัฐ จะเห็นว่าพื้นที่ในทิศตะวันตกของประเทศจะมีศักยภาพในการใช้พลังงานลมและแสง อาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า
ส่วนวิธีการเผาไหม้ไพโรไรซีสโดยใช้ชีวมวล สหรัฐมีศักยภาพสูง ต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนจากวิธีนี้ยังแพงอยู่ที่ 3 USD/kg ไฮโดรเจน แต่นักวิจัยคาดว่าต้นทุนจะลดลงอยู่ที่ 2.6 USD/kg ในปี 2010 และด้วยปริมาณชีวมวลที่มีอยู่ ทำให้ในอนาคตอันใกล้สหรัฐจะสามารถผลิตไฮโดรเจนจากชีวมวลไว้ใช้โดยไม่ต้อง พึ่งพาการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซธรรมชาติอย่างปัจจุบัน ซึ่ง 90% ของไฮโดรเจนได้มาจากก๊าซธรรมชาติ . • อิเล็กโตรไลซิส ใช้ไฟฟ้าแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ ต้นทุน 2.0 USD/kg สำหรับโรงผลิตขนาดใหญ่ ต้นทุน 2.5 USD/kg สำหรับปั๊มขนาดเล็ก • ชีวมวล ใช้ของเหลือใช้ทางการเกษตร โดยการเผาไหม้ไพโรไลซิส ต้นทุน 2.6-3.0 USD/kg ไฮโดรเจน • เชื้อเพลิงเหลว (NG รวมถึง ถ่านหินเหลว) ต้นทุน 1.5 USD/kg ไฮโดรเจน . ประสิทธิภาพของรถ H2R 187 ไมล์/ชั่วโมง อัตราเร่ง 6 วินาที ถือว่าเป็นเพียงการเริ่มต้น ในขณะที่ ราคาน้ำมันแพงขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนต้นทุนไฮโดรเจนมีแนวโน้มลดลง เราคงได้เห็นรถยนต์ใช้ไฮโดรเจนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและขยายไปยานพาหนะ ประเภทอื่นในอนาคตอันใกล้

เครื่องยนต์

เชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ

จากการอภิปรายใน หัวข้อเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นสำหรับภาคขนส่งสรุปได้ว่า


• เป็นที่ยอมรับกันว่าระบบขนส่งด้วยรางและระบบขนส่งทางน้ำเป็นระบบที่ควรได้ รับการส่งเสริมให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบขนส่งทางถนนด้วย

• รถยนต์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในประเทศไทยยังมีประสิทธิภาพต่ำ สิ้นเปลืองน้ำมันมาก และปล่อยมลพิษ รวมถึงปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง

• ในปี พ.ศ. 2553 จะเริ่มมีการ ผลิตอีโค-คาร์ (Eco-car) ซึ่งกำหนดให้มีขนาดความจุกระบอก สูบของเครื่องยนต์ระหว่าง 1300 – 1400 ซีซี มีอัตราการใช้น้ำมันดีกว่า 20 กม./ลิตร มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมยูโร 4 และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 120 กรัม/กม. เป็นต้น

• ปัจจุบันมีการจำหน่ายรถยนต์ลูกผสม (Hybrid car) อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ และได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกินน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำ อาจประหยัดน้ำมันได้ถึง 50% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการออกแบบและการใช้งาน รถยนต์ลูกผสมส่วนใหญ่ใช้การขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในร่วมกับ พลังงานไฟฟ้า

• ภายใน 1-2 ปีนี้ จะมีการจำหน่ายรถยนต์ลูกผสม – ปลั๊กอิน (Hybrid – plug-in) ซึ่งจะใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนรถยนต์มากขึ้น อาจเดินทางได้ถึง 60 กม. โดยใช้เพียงพลังงานไฟฟ้า ต่อจากนั้นเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในจึงจะทำงาน การชาร์จแบตเตอรี่แต่ละครั้งอาจใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หากต้องการชาร์จให้เต็ม อาจชาร์จทิ้งไว้ทั้งคืน เทคโนโลยีตัวนี้น่าจะได้รับการสนับสนุนให้มีการใช้และ/หรือผลิตในประเทศ หากมีตลาดมากพอ

• ปัจจุบันมีการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าอยู่บ้าง ซึ่งมักเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก วิ่งได้ต่ำกว่า 80 กม.

• สำหรับการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งยังต้องการการพัฒนาให้วิ่งได้หลายร้อยกิโลเมตรสำหรับการชาร์จ 1 ครั้ง และสามารถชาร์จได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 15 นาที คาดว่ายังจะใช้เวลาอีกหลายปี รถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวมักเรียกกันว่ารถยนต์ไฟฟ้า-ปลั๊กอิน (Plug-in electric car) เป็นที่เชื่อกันว่ารถยนต์ไฟฟ้า-ปลั๊กอิน จะเข้ามาทดแทนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในเกือบทั้งหมดภายในเวลา ประมาณ 20 ปี

• การใช้เอทานอลเพียง 10% กับน้ำมันเบนซิน ซึ่งเรียกกันว่า E10 จะมีประโยชน์มาก เพราะเป็นการทดแทนการใช้สาร MTBE เพื่อการเพิ่มตัวเลขออกเทน สาร MTBE เป็นสารก่อมะเร็ง และ ถูกห้ามใช้ในบางประเทศ หากผสมมากขึ้น เช่น E20 ก็ยังมีประโยชน์ แต่หากผสมสูงถึง 85% (E85) อาจจะมีคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากวัตถุดิบคงจะมีไม่เพียงพอ

เอทานอลได้จากการหมักน้ำตาล ซึ่ง วัตถุดิบที่ใช้ในปัจจุบันในประเทศไทย ได้แก่ แป้ง และน้ำตาล หากใช้วัตถุดิบจำพวกแป้ง จะต้องใช้พลังงานฟอสซิลในการผลิตเอทานอลสูงถึง 70% ซึ่งอาจไม่ได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากนัก นอกจากนี้มีไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนการใช้ E85 ดังนั้นเครื่องยนต์สำหรับ E85 อาจมีขนาดของตลาดค่อนข้างเล็กมาก และไม่น่าจะมีตลาดเพื่อส่งออกในอนาคต

รถยนต์ไฟฟ้า-ปลั๊กอิน มี ข้อดีคือ ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากว่าการผลิตไฟฟ้าไม่มีการปล่อยก๊าซดังกล่าวเช่นกัน เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน หรือแม้แต่โรงไฟฟ้าถ่านหิน หากมีการจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้อย่างถาวร ในกรณีหลังนี้มีต้นแบบแล้ว


• การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก น่ายังจะมีความจำเป็นต่อไป ดังนั้น
ไบ โอดีเซลจึงเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก

• ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มใช้พลังงานฟอสซิลต่ำกว่า 20% ซึ่งดีกว่าเอทานอลมาก ประเด็นนโยบายที่สำคัญคือ การกำหนดร้อยละของไบโอดีเซลที่จะนำมาผสมกับน้ำมันดีเซล เพราะหากกำหนดให้สูงเกินไป จะมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบมีไม่เพียงพอ และจะกระทบถึงอุตสาหกรรมอาหารและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากผสมเพียง 2% ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบไม่เพียงพอ

• รถยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง ยังจะไม่มีผลิตขายกันอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากยังต้องวิจัยและพัฒนาอีกนานพอสมควร

ควรเปลี่ยนแปลงนโยบายโครงสร้างภาษีรถยนต์ จากเดิม ซึ่งคิดภาษีตามปริมาตรกระบอกสูบของเครื่องยนต์เป็น การคิดภาษีตามความสิ้นเปลืองพลังงาน (กม./ลิตร) และ/หรือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (กรัม CO2/กม.)


วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

รถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้า (Hybrid and Electric Cars)

ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนได้สร้างแรงกดดันให้ ทุกประเทศในโลกต้องมีมาตรการลดการใช้พลังงานฟอสซิล

นอกจากนี้ความจำเป็นที่ต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงกดดันให้ ประเทศต่างๆ ลดการใช้น้ำมันลงโดยการ

(1) จัดหาพลังงานอื่นๆ เพื่อทดแทนน้ำมันในการขนส่ง

(2) พัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานรูป แบบอื่นๆ ในการขนส่ง

รถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พัฒนาการของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ทำให้แบตเตอรี่สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้ มากขึ้น มีส่วนช่วยเร่งพัฒนาการของรถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ซึ่งมีจำหน่ายในเชิงพาณิชย์แล้ว

จากแนวโน้มของพัฒนาการทางเทคโนโลยีและยอดขายรถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้ามีศักยภาพที่จะมีบทบาทสำคัญ นอกจากจะแก้ปัญหาสภาวะโลกร้อนแล้ว ยังจะทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นเพราะลดการปล่อยไอเสียออกสู่บรรยากาศอย่างมาก

แหล่ง พลังงานที่สามารถทดแทนน้ำมันได้ในการขนส่ง

แหล่งพลังงานที่สามารถใช้ทดแทน น้ำมันเบนซินและดีเซลในการขนส่งทางถนนมีหลายประเภทดังต่อไปนี้

(1) ก๊าซธรรมชาติ (CNG)
ก๊าซ ธรรมชาติถือว่าเป็นเชื้อเพลิงสะอาด เพราะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงประมาณ 50% แต่ต้องใช้ถังบรรจุก๊าซที่ใหญ่และหนักขึ้น

(2) เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels)
เชื้อเพลิงชีวภาพที่สำคัญคือ เอทานอล และไบโอดีเซล สำหรับเอทานอลนั้นหากมีการใช้ในสัดส่วนที่สูง
จะต้องมีการปรับเครื่อง ยนต์ที่จะใช้ด้วย

(3) พลังงานไฟฟ้า

พลังงานไฟฟ้าสามารถใช้ทดแทน น้ำมันได้ใน 2 แนวทางคือ

แนวทางแรก คือใช้ทั้ง พลังงานไฟฟ้าและน้ำมันในรถลูกผสมหรือรถไฮบริด โดยรถไฮบริดต้องใช้ทั้ง
เครื่อง ยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า

แนวทางที่สอง คือใช้ พลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวโดยผ่านมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งขับเคลื่อนโดยแบตเตอรี่ในรถ ยนต์
ไฟฟ้า ซึ่งได้มีการใช้มานานแล้ว แต่รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นเก่ามีข้อจำกัดด้านระยะทางที่ขับเคลื่อนได้จากการชาร์จ ไฟฟ้าแต่ละครั้ง และใช้เวลาชาร์จนาน นอกจากนี้ยังบรรทุกน้ำหนักอื่นได้น้อย เพราะต้องบรรทุกแบตเตอรี่ที่หนักมาก รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่มีแบตเตอรี่ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่เก็บพลังงานได้มากขึ้น มาก และแก้ปัญหาของรถยนต์ไฟฟ้าแบบเก่าได้หมด

(4) ก๊าซไฮโดรเจน (H2)
ก๊าซ ไฮโดรเจนมีจุดเด่นอยู่ที่เป็นเชื้อเพลิงสะอาดที่เผาไหม้แล้วได้ไอน้ำ แต่ไฮโดรเจนไม่มีอยู่ด้วยตัวเองใน
ธรรมชาติ แต่จะรวมตัวกับสารอื่นเป็นสารประกอบ เช่น น้ำ (H2O), ก๊าซธรรมดา, เมทานอล (CH3OH) เป็นต้น ดังนั้นหากจะใช้ก๊าซไฮโดรเจนจะต้องผลิตจากสารประกอบที่มีก๊าซไฮโดรเจนผสม อยู่

การที่จะใช้ก๊าซไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้าและ พลังงานกล จะต้องใช้เซลล์เชื้อเพลิง
(Fuel Cell) (ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพลังงานใหม่) เป็นเครื่องต้นกำลัง และรถที่มีเซลล์เชื้อเพลิงเป็นเครื่องต้นกำลังเรียกว่า รถเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Vehicles)

รถ ไฮบริด (Hybrid Cars)

รถไฮบริดหรือรถลูกผสมจะใช้ทั้ง เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงานของระบบ ทั้งนี้พลังงานที่ต้องสูญเสียของเครื่องยนต์ เช่น ขณะเบรกเพื่อชะลอความเร็ว จะถูกนำมาผลิตพลังงานไฟฟ้าเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และถูกนำออกมาช่วยในการขับเคลื่อนรถยนต์เพื่อลดการใช้น้ำมันลง นอกจากนี้การลดการใช้น้ำมันเกิดขึ้นจากการเดินเครื่องยนต์ที่ระดับความเร็ว รอบที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดเสมอ พลังงานจากเครื่องยนต์ที่เกินความต้องการจะถูกนำไปผลิตพลังงานไฟฟ้า และในกรณีที่ความต้องการใช้พลังงานของรถมากกว่าที่เครื่องยนต์ผลิตได้ รถจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เสริม

รถไฮบริดมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า โดยหลักการทำงานของรถไฮบริดปรากฏดังรูป
















แสดงส่วนประกอบหลักของรถยนต์ Hybrid ของรถ Toyota Prius รุ่นปี 2003


รถยนต์ไฮบริดต้องมีแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่าแบตเตอรี่รถยนต์ธรรมดาและใช้ แบตเตอรี่แบบใหม่ที่เก็บพลังงานไฟฟ้า
ได้มาก และมีระบบควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน รถไฮบริดจะประหยัดพลังงานได้ระหว่าง 10-50% แล้วแต่ประเภทของไฮบริดและลักษณะของการขับว่าเป็นการขับในเมืองหรือระหว่าง เมือง ซึ่งรถไฮบริดจะประหยัดน้ำมันได้มากเมื่อขับในเมือง

รถไฮบริดได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกโดยบริษัทโตโยต้า และเริ่มพัฒนาเมื่อกลางทศวรรษ 1980 ในขณะที่น้ำมันยังมีราคาถูกมาก และได้เริ่มจำหน่ายครั้งแรกในปี 1997


การพัฒนารถไฮบริดของโตโยต้าทำให้บริษัทรถยนต์ ยักษ์ใหญ่ของชาติตะวันตกแปลกใจมาก เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความจำเป็น รถไฮบริดรุ่นแรกของโตโยต้าชื่อ พริอุส (Prius) มีราคาแพงกว่ารถธรรมดาขนาดเท่ากันกว่า 200,000 บาท รถพริอุส ถือว่าเป็น Ecocar และได้รับความนิยมมากเกินความคาดหมายในอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันตก และได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกระแสของสภาวะโลกร้อนและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

รถพริอุสมียอดขายสะสมจนถึงปัจจุบันกว่า 1 ล้านคัน และปัจจุบันมียอดขายปีละกว่า 1 แสนคัน ยอดขายรถไฮบริดทั้งหมดของโตโยต้า (พริอุส แคมรี่ เล็กซัส และไฮแลนเดอร์) สูงถึงประมาณ 1,600,000 คัน

บริษัทฮอนด้าได้ให้ความสำคัญต่อรถไฮบริดโดยพัฒนารถไฮบริดรุ่นแรกชื่อ อินไซท์ (Insight) เมื่อปี 2001 และต้องเลิกผลิตใน 2-3 ปีต่อมาเนื่องจากความต้องการไม่สูงพอ แต่ปัจจุบันบริษัทฮอนด้าได้หันกลับมาผลิตรถไฮบริดแอคคอร์ด, ซิวิค และอินไซท์ และเริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รถไฮบริดของฮอนด้าได้ประกาศว่ามีราคาสูงกว่ารถธรรมดาไม่เกินคันละ 65,000 บาท


Insight-รถยนต์ไฮบริดรุ่นแรกของ บริษัทฮอนด้า


จากความนิยมรถไฮบริดที่มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจากมาตรการส่งเสริมต่างๆ ที่เกิดจากแรงกดดันที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคขนส่ง เช่น การลดภาษี ทำให้บริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่ทั่วโลกหลายแห่งได้หันมาพัฒนาและผลิตรถไฮบริด โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนารถไฮบริดที่ประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นและราคาถูกลง

รถ ปลั๊กอินไฮบริด (Plug-In Hybrid Cars)

รถปลั๊กอินไฮบริด คือรถไฮบริดที่เก็บพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ได้มากขึ้น (ซึ่งต้องจุพลังงานได้มากขึ้นกว่าเดิม) ก่อนออก

เดินทาง เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนโดยพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวเป็นระยะทางมากขึ้นถึง 20-80 กม. เพื่อให้การใช้น้ำมันลดลงเมื่อเทียบกับรถไฮบริดในภาพรวม รถปลั๊กอินไฮบริดสะสมพลังงานตอนกลางคืนขณะที่พลังงานไฟฟ้ามีราคาถูกโดยชาร์จ ไฟฟ้าบ้าน

รถปลั๊กอินไฮบริดมีศักยภาพที่จะลดการใช้น้ำมันลงถึง 70% และคาดว่าจะออกสู่ตลาดภายใน 2 ปี พัฒนาการของรถปลั๊กอินไฮบริดขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่จะ ต้องสามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้นและราคาถูกลง บริษัทโตโยต้าและ GM ประกาศว่าจะเริ่มขายรถปลั๊กอินไฮบริดในปี 2009

องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) จะมีส่วนแบ่งของตลาดรถยนต์กว่า 25% ในปี 2030 และประมาณ 60% ในปี 2050 ซึ่งคาดว่าจะมีตลาดใหม่ถึงปีละ 200 ล้านคัน

รถ ยนต์ไฟฟ้า (Electric Cars)

การเกิดสภาวะโลกร้อนทำให้ต้องมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ในภาคการขนส่ง จากพัฒนาการของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้ามีศักยภาพที่จะขับเคลื่อน ได้มากขึ้นกว่าเดิม เมื่อเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้าในอดีต ซึ่งส่วนใหญ่ขับเคลื่อนได้ไม่เกิน 25 กม.ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง

จากพัฒนาการของเทคโนโลยีลิเทียมไอออนทำให้สามารถเก็บพลังงานไฟฟ้า เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเท่ากัน ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะมีรถยนต์ไฟฟ้าที่มีระยะขับเคลื่อนถึง 500 กม.

แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนยังมีราคาแพงมาก คือมีราคาถึง USD 1000 ต่อ กิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ดังนั้นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีระยะขับเคลื่อนมากจะมีราคาแพงมาก แต่เป็นที่คาดกันว่าราคาของลิเทียมไอออนแบตเตอรี่จะลดลงเหลือเพียง USD 300 ต่อ kWh ภายใน 15 ปี จากการวิจัยและพัฒนาและการผลิตจำนวนมาก ดังนั้นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกน่าจะมีระยะขับเคลื่อนระดับปานกลาง 100-150 กม. เพื่อรักษาระดับราคารถไม่ให้สูง ในระยะนี้การเพิ่มระยะขับเคลื่อนอาจทำได้โดยการตั้งสถานีชาร์จแบตเตอรี่ขึ้น เพื่อให้บริการผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า มีรายงานว่าประเทศอิสราเอลและเดนมาร์ก เริ่มวางแผนที่จะจัดตั้งสถานีชาร์จแบตเตอรี่จำนวนมาก เพื่อรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทดแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน

บริษัทรถยนต์หลายแห่งกำลังผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ รถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทมิตซูบิชิ ซึ่งใช้ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่และขับเคลื่อนได้ 130 กม.ต่อการชาร์จ 1 ครั้งจะออกสู่ตลาดในปี 2009 ด้วยราคา USD 25,000-USD 30,000 การชาร์จแบตเตอรี่แต่ละครั้งให้เต็มต้องใช้เวลากว่า 10 ชม. แต่ขณะนี้บริษัทมิตซูบิชิได้พัฒนาเทคโนโลยีชาร์จแบตเตอรี่ที่ชาร์จได้เร็ว ขึ้นมาก โดยสามารถชาร์จไฟฟ้าได้ 80% ของความจุสูงสุดของแบตเตอรี่ภายใน 30 นาที



รถยนต์ ไฟฟ้าของมิตซูบิชิ (IMiEV) ซึ่งใช้ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่

ข้อ ได้เปรียบในเชิงประสิทธิภาพของรถยนต์ไฟฟ้า

ข้อได้เปรียบของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือ ระบบแบตเตอรี่-มอเตอร์ไฟฟ้า มีประสิทธิภาพสูงกว่า ระบบน้ำมัน-เครื่องยนต์แบบสันดาปภายในถึงประมาณ 3 เท่า รถยนต์ไฟฟ้าขนาดมาตรฐานจะใช้พลังไฟฟ้าประมาณ 0.16 กิโลวัตต์-ชม. ต่อ 1 กม. หรือประมาณ 0.50 บาท/กม. ซึ่งต่ำกว่าการใช้น้ำมันมาก และหากชาร์จไฟฟ้าในเวลากลางคืน ราคาพลังงานไฟฟ้าจะต่ำกว่านี้

กรอบเวลาที่รถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าจะเข้าสู่ตลาด ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะยาวรถยนต์ไฟฟ้าจะมีระยะขับเคลื่อนเท่ากับรถใช้น้ำมัน ในปัจจุบันเนื่องจากแบตเตอรี่จะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แนว โน้มของรถยนต์ในอนาคต

ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเภทของรถ ยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง รถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้น้ำมันเบนซินและดีเซลน้อยลงจะเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ในยุโรปได้เริ่มกำหนดมาตรฐานการปล่อยก๊าซ CO2 ของรถยนต์ที่เข้มงวดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น EU ได้กำหนดค่าสูงสุดของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ใน EU ในปี 2012 ไว้ที่ 130 กรัม/กม. ในขณะที่ค่าเฉลี่ยในปัจจุบันคือ 158 กรัม/กม. ข้อกำหนดเช่นนี้มีส่วนผลักดันให้บริษัทรถยนต์ต้องพัฒนารถไฮบริดและรถยนต์ ไฟฟ้า

ผู้ เชี่ยวชาญด้านพลังงานเชื่อว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซลแบบ ธรรมดาจะลดลงและหายไปใน 20 ปีข้างหน้า โดยถูกแทนที่ด้วย รถไฮบริด รถปลั๊กอินไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้า(หรือรถเซลล์เชื้อเพลิง) รถยนต์ประสิทธิภาพสูง (ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซลขั้นสูง และส่วนประกอบอื่นๆ ที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพให้สูงขึ้น)

ผู้ เชี่ยวชาญด้านพลังงานเชื่อกันว่าในระยะยาวรถยนต์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในเมืองใหญ่ จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

ที่มาจาก www.vcharkarn.com

ใส่ใจลมยางสักนิด ต่อชีวิตทั้งคน และรถ


โค๊ด ศัตรูตัวฉกาจที่ทำให้รถสิ้นเปลืองน้ำมัน ได้แก่ การเร่งเครื่องแรงๆ และการเบรก ผู้ขับรถโดยทั่วไปสามารถประหยัดค่าน้ำมันได้มากถึง 37% เพียงแค่ออกรถเบาๆ

ขณะที่เมืองไทยย่างเข้าหน้าฝน สหรัฐก็ถึงช่วงซัมเมอร์ ซึ่งเป็นเวลาที่ผู้คนนิยมขับรถท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ และกลุ่มรณรงค์เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ยวดยาน จึงออกมากระตุ้นให้ชาวอเมริกันหันมาใส่ใจกับ "ยางรถยนต์" ส่วนประกอบสำคัญของรถที่ไม่ค่อยมีใครใส่ใจนัก คอลัมน์ Tricks & Tips เห็นว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจจึงนำมาถ่ายทอดต่อ

ผู้เชี่ยวชาญด้านยางรถยนต์ในสหรัฐเตือนว่า บทลงโทษจากการละเลยส่วนประกอบหลักที่จะพาเราเดินทางไปบนท้องถนนได้อย่าง ปลอดภัย อาจหนักหนาสาหัสเกินคาด ขณะที่ แมตต์ เอ็ดมันด์ รองประธาน บริษัท ไทร์ แร็ค ผู้ค้าปลีกยางรถยนต์ทางไปรษณีย์ และอินเทอร์เน็ต ชี้แจงว่า ยางรถยนต์ที่สึกกร่อนอาจยังมีประสิทธิภาพดีเมื่อขับในสภาพอากาศแห้ง แต่ถ้าเจอถนนเปียกๆ ก็อาจลื่นแฉลบได้ง่าย และรถยนต์จำนวนมากในสหรัฐมียางอ่อนเกินไปหรือไม่ก็แข็งเกินไป

เอ็ดมันด์ กล่าวว่า ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูแลลมยาง ลมยางที่เหมาะสมจะช่วยประหยัดพลังงาน และสภาพยางรถยนต์ เราควรเปรียบเทียบยางรถยนต์กับรองเท้า รองเท้าเก่าๆ มักให้ความรู้สึกสบาย แต่เราจะไม่รู้สึกถึงรอยโหว่ที่พื้นรองเท้า จนกว่าจะสวมออกไปเดินย่ำฝนนั่นแหละ

สมาคมผู้ผลิตยางสหรัฐแนะนำว่า เจ้าของรถที่ไม่ได้ตรวจเช็คลมยางในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ควรใส่ใจกับล้อรถของตนเองให้มากขึ้น โดยผลสำรวจของสมาคมพบว่า เจ้าของรถ 3 ใน 4 ล้างรถเดือนละครั้ง แต่มีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้นที่ตรวจเช็คลมยางทุกเดือน และกว่า 80% ของผู้ขับรถไม่รู้ว่าจะตรวจเช็คลมยางอย่างไร

ยิ่งไปกว่านั้น รถยนต์ประมาณ 1 ใน 3 มีลมยางอ่อนกว่าที่ควรจะเป็นข้อมูลจากคณะกรรมการบริหารความปลอดภัยทางหลวง แห่งชาติสหรัฐระบุว่า อุบัติเหตุที่เกิดจากลมยางอ่อนทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 660 ราย และบาดเจ็บประมาณ 33,000 รายในแต่ละปี

โดนัลด์ เชีย ประธานสมาคมผู้ผลิตยางสหรัฐ กล่าวว่า มีผู้ขับขี่ยวดยานไม่มากนักที่ดูแลลมยางอย่างเหมาะสม และได้รับความปลอดภัยอย่างเต็มประสิทธิภาพ ยางรถยนต์ที่ได้รับการเติมลมอย่างเหมาะสมจะช่วยยืดอายุการใช้งาน และประหยัดพลังงานสูงสุด

ราคาน้ำมันที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงหน้าร้อนของสหรัฐ อาจเป็นแรงดึงดูดใจสำคัญให้ผู้ขับรถหันมาใส่ใจลมยางมากขึ้น กระทรวงพลังงานสหรัฐประเมินว่า ลมยางในระดับที่เหมาะสมจะช่วยประหยัดพลังงานได้ 3.3% ลมยางที่อ่อนเกินไปอาจทำให้สิ้นเปลืองพลังงานเพิ่มขึ้น 0.4%

เอ็ดมันด์จากไทร์ แร็ค อธิบายว่า ยางรถยนต์ที่มีลมอ่อนเกินไปจะมีแรงต่อต้านการหมุนมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันมากขึ้น และตัวเลขผู้ขับรถประมาณ 80% ที่ไม่รู้วิธีตรวจเช็คลมยางอย่างเหมาะสม แสดงว่าชาวอเมริกันทิ้งน้ำมันไปหลายพันล้านแกลลอนในแต่ละปี

เอ็ดมันด์ตั้งข้อสังเกตว่า ออกจะเป็นเรื่องเหลือเชื่อเมื่อคิดถึงเรื่องนี้ โดยปกติผู้คนมักปล่อยให้ลมยางอ่อนตัวในช่วงหน้าหนาว และอาจไม่ได้ตรวจเช็คลมยางมาตั้งแต่อุณหภูมิ 30 องศา อุณหภูมิที่เปลี่ยนไปทุก 10 องศา อาจส่งผลต่อลมยางประมาณ 1 ปอนด์ และยางรถยนต์เส้นหนึ่งจะสูบลมยางเฉลี่ยประมาณ 1 ปอนด์ทุกๆ 60 วัน

ด้าน ฟิล รีด บรรณาธิการที่ปรึกษาผู้บริโภค Edmunds.com เวบไซต์ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอ็ดมันด์จากไทร์ แร็ค กล่าวว่า ลมยางเป็นสิ่งสำคัญ แต่ผู้บริโภคก็ยังมีหนทางประหยัดน้ำมันที่ดีกว่า

รีด กล่าวว่า ศัตรูตัวฉกาจที่ทำให้รถสิ้นเปลืองน้ำมัน ได้แก่ การเร่งเครื่องแรงๆ และการเบรก ผู้ขับรถโดยทั่วไปสามารถประหยัดค่าน้ำมันได้มากถึง 37% เพียงแค่ออกรถเบาๆ ขณะการลดความเร็วในการขับขี่จาก 75 ไมล์ต่อชั่วโมง เหลือ 65 ไมล์ต่อชั่วโมง ก็ช่วยประหยัดน้ำมันได้ประมาณ 11% แถมยังช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าปรับจากการขับรถเร็วเกินไปด้วย ขณะที่ การเคลียร์ของออกจากท้ายรถ เพื่อทำให้รถเบาขึ้น ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยประหยัดน้ำมัน

class=normalเร ไทสัน โฆษกคณะกรรมการบริหารความปลอดภัยทางหลวงแห่งชาติสหรัฐ กล่าวว่า ความปลอดภัยของยางรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญ และยิ่งสำคัญมากสำหรับรถกระบะ ผลวิจัยแสดงว่าผู้คนจำนวนมากไม่ใส่กับเรื่องนี้ และมักปล่อยให้ลมยางอ่อนเกินไป

คณะกรรมการบริหารความปลอดภัยทางหลวงแห่ง ชาติสหรัฐประกาศเมื่อปีที่แล้วว่า ภายใน 3 ปี รถใหม่ทั้งหมดที่จำหน่ายในสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ มินิแวน หรือรถกระบะจะต้องมีระบบเตือนผู้ขับขี่เมื่อลมยางอ่อนเกินไป และตอนนี้มียานยนต์ส่วนหนึ่งติดตั้งระบบตรวจเช็คลมยางที่ได้มาตรฐานแล้ว แต่เอ็ดมันด์จากไทร์ แร็ค เห็นว่า ระบบตรวจเช็คลมยางอัตโนมัติอาจทำให้ผู้ขับขี่ชะล่าใจ เขาแนะนำให้พกเครื่องวัดลมยางติดรถหรือติดบ้านไว้ และผู้ขับขี่ควรตรวจเช็คลมยางเองเป็นระยะๆ ระดับลมยางที่เหมาะสมมักติดอยู่ที่ประตูด้านในของรถ หรือบริเวณห้องเครื่อง

เอ็ดมันด์ตั้งข้อสังเกตว่า คณะกรรมการบริหารความปลอดภัยทางหลวงบอกว่า เครื่องตรวจเช็คลมยางอัตโนมัติจะเตือนให้ผู้ขับขี่ทราบเมื่อลมยางอ่อนตัวลง ต่ำกว่า 30% แต่ในความเป็นจริง เมื่อถึงจุดนั้นแล้วประสิทธิภาพการบรรทุกน้ำหนักของรถจะลดลงอย่างมาก เขาและเพื่อนร่วมงานลองทดสอบกับรถบีเอ็มดับเบิลยู ซีรีส์ 3 325 ซีไอ และพบว่า ประสิทธิภาพของรถลดลงจนรับน้ำหนักได้แค่ 50 กว่ากิโลกรัมเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า แค่เอาคนเข้าไปนั่งในรถเพียงคนเดียวก็อาจทำให้น้ำหนักเกินได้แล้ว

ลองคิดดูว่าหากใช้เครื่องตรวจเช็คลมยาง อัตโนมัติ เมื่อลมยางลดลง 29% ผู้ขับขี่จะยังไม่ได้รับสัญญาณเตือน และไม่ทราบว่าลมยางอ่อนเกินไปแล้ว ยิ่งผู้ขับขี่ที่เช็คลมยางด้วยการใช้สายตากะเอาแทนการใช้เครื่องมือจะยิ่ง รู้ได้ยากขึ้น ดังนั้น จึงควรหาเครื่องวัดลมยางมาใช้ หรืออาศัยเครื่องวัดลมยางตามปั๊มน้ำมันที่มีอยู่ทั่วไป โดยการตรวจเช็คลมยางควรทำเป็นประจำสัปดาห์ละครั้ง หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง

นอกจากการตรวจเช็คลมยางแล้ว การดูแลเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยประหยัดน้ำมัน ได้ ผู้เชี่ยวชาญจาก ศูนย์ทดสอบของ ทูฟ นอร์ด ในเมืองฮันโนเวอร์ เยอรมนี แนะนำว่า ผู้ขับขี่ควรเลือกใช้ระบบปรับอากาศที่เหมาะสม และควรปิดสวิตช์ทุกครั้งเมื่อไม่จำเป็น

al วิศวกรของทูฟ นอร์ด หนึ่งในผู้ให้บริการด้านเทคนิครายใหญ่สุดของเยอรมนี แนะนำด้วยว่า เมื่อความร้อนภายในรถเพิ่มสูงขึ้นหลังจากจอดรถทิ้งในกลางแดดนานๆ การระบายความร้อนที่ดีที่สุดคือ เปิดประตูให้หมดทุกด้าน เปิดเครื่องปรับอากาศเพื่อคลายความร้อน แล้วจึงค่อยออกรถ และอุณหภูมิภายในรถอยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็ควรปล่อยให้ลมจากภายนอกเข้ามาในรถอีกครั้ง การควบคุมอุณหภูมิภายในรถอย่างระมัดระวังตลอดการเดินทาง จะช่วยจำกัดการสิ้นเปลืองน้ำมันไปกับเครื่องปรับอากาศได้ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะว่า อุณหภูมิภายในรถควรต่ำกว่าภายนอกประมาณ 5 องศา

โดยหลักการแล้ว ผู้ขับขี่ควรปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่ไม่จำเป็น เพื่อลดการสิ้นเปลืองพลังงาน และควรตรวจเช็คระบบปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสองปีครั้ง เนื่องจากส่วนประกอบหลักของเครื่องปรับอากาศเมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะสึกหรอ และหากไม่มีการตรวจเช็คเลย เครื่องปรับอากาศจะเสื่อมสภาพลงประมาณ 5% ต่อปี

รู้จักการใช้รถยนต์อย่างถูกต้อง และไม่สิ้นเปลืองน้ำมัน


" รู้จักการใช้รถยนต์อย่างถูกต้อง และไม่สิ้นเปลืองน้ำมัน "

อ่านหนังสือพิมพ์ราย สัปดาห์ Transport Journal พบเกร็ดความรู้พลังงานวิธีการประหยัดน้ำมันที่น่าสนใจมากเลยครับ และคงจะช่วยให้เราประหยัดค่าน้ำมันในช่วงวิกฤติน้ำมันแพง ตอนนี้ มานำเสนอนะครับ

การขับรถอย่างถูกวิธี จะมีส่วนช่วยให้เราสามารถลดการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงหากเราปฏิบัติตาม ข้อแนะนำต่อไปนี้

1.ไม่ควรเร่งรถยนต์ก่อนออกรถ

การเร่งเครื่องให้มีความเร็วรอบสูง จะทำให้อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นเพราะเมื่อ เครื่องยนต์มีความเร็วรอบสูงอัตราความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงจะสูงตามด้วย เมื่อออกรถเราไม่จำเป็นต้องเร่งเครื่องยนต์โดยทั่วไปความเร็วรอบที่เหมาะสม สำหรับการออกรถประมาณ 1,100-1,250 รอบต่อวินาที ควรออกรถโดยวิ่งไปอย่างช้าๆ แทนการอุ่นเครื่องยนต์โดยการจอดรถติดเครื่องอยู่กับที่จะช่วยให้ประหยัด น้ำมันได้มากและยังขับได้ระยะทางมาส่วนหนึ่งจากเส้นทางทั้งหมดที่กำลังจะไป ด้วย ติดเครื่องยนต์ 10 นาทีจะสิ้นเปลืองน้ำมัน โดยเฉลี่ยประมาณ 200 ซีซี.หรือเทียบเท่าระยะทางประมาณ 40 เมตร

2.ไม่ควรติดเครื่องยนต์ขณะจอดรถคอย

กรณีที่ต้องจอดรถคอยเป็นเวลานานควรดับเครื่องยนต์เพราะ จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเปล่าประโยชน์การติดเครื่องจอดอยู่ เฉยๆ เป็นเวลา 5 นาทีจะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันไปโดยเปล่าประโยชน์ 300 ซีซี และก่อให้เกิดก๊าซไอเสียจากรถยนต์เป็นอัตราต่อสุขภาพ

3.ขับรถที่ความเร็วประหยัด

ไม่ควรขับรถที่ความเร็วสูงมากจนเกินไปเพราะจะสิ้น เปลืองน้ำมัน ระดับความเร็วมาตรฐานที่จะช่วยให้ประหยัดน้ำมันได้มาก ที่สูงสุดคือ 60-80 กม./ชม. และตามกฎหมายกำหนดให้ความเร็วสูงสุดในการขับขี่รถยนต์บนถนนทั่วไปไม่เกิน 90กม./ชม.

4.การใช้เกียร์ให้สัมพันธ์กับความเร็วรอบของรถ ยนต์

ไม่ควรใช้เกียร์ต่ำ (เกียร์ 1 และ 2) ที่ความเร็วรอบสูงหรือใช้เกียร์สูง (เกียร์ 3,4 และ 5) ที่ความเร็วรอบต่ำจะมีผลให้กำลังเครื่องตกและสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าปกติ

5.ไม่เลี้ยงครัตช์ในขณะขับรถ

ไม่ควรใช้เกียร์ต่ำ (เกียร์ 1 และ 2) ที่ความเร็วรอบสูงหรือใช้เกียร์สูง (เกียร์ 3,4 และ 5) ที่ความเร็วรอบต่ำจะมีผลให้กำลังเครื่องตกและสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าปกติ

ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง จากระบบน้ำมันเชื้อเพลิง เราสามารถสังเกตและตรวจสอบสาเหตุของการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่ม ขึ้นกว่าปกติอย่างง่ายๆ ดังนี้น้ำมันรั่วหรือไม่ ให้สังเกตจากบริเวณพื้นถนนใต้รถที่จอดอยู่หากพบว่ามีรอบเปียกของน้ำมันหรือ ได้กลิ่นน้ำมัน ซึ่งอาจจะรั่วจากข้อต่อในระบบท่อ ให้ดำเนินการซ่อมโดยเร็ว

ตรวจความเร็วรอบเดินเบา ถ้าความเร็วรอบเครื่องยนต์ในจังหวะเดินเบาสูงเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์กิน น้ำมันมากขึ้น ควรปรับความเร็วรอบให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของผู้ผลิต แต่ถ้าไม่มีข้อมูลดังกล่าวควรปรับความเร็วรอบที่ประมาณ 800 รอบต่อนาที หรือในระดับที่เครื่องยนต์ทำงานเรียบที่สุด

สำหรับเครื่องยนต์ที่มีระบบการจ่ายน้ำมันด้วยระบบหัว ฉีด หากมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ขณะเดินเบาควรปรึกษาเจ้า หน้าที่ของบริษัทผู้ผลิตให้เป้นผู้ดูแลในเรื่องนี้โดยตรง ตรวจระดับน้ำหล่อเย็นของหม้อน้ำ ตรวจระดับน้ำหล่อเย็นของหม้อน้ำให้อยู่ในระดับที่พอดีในระหว่างระดับต่ำสุด และระดับสูงสุด น้ำหล่อเย็นจะช่วยลดความร้อนของเครื่องยนต์ในขณะขับได้ ดังนั้นหากปริมาณน้อยเกินไปหรือต่ำกว่าระดับต่ำสุด เครื่องยนต์อาจร้อนจัดเกินไปเป้นอันตราย แต่ไม่ควรเติมน้ำให้เกินระดับสูงสุด เพราะเมื่อน้ำภายในร้อนมากเกินไปจะขยายตัวทำให้เกิดแรงดันฝาหลุดออกมาได้ และเป็นอันตราย

"หมั่น สังเกตสักนิดพิชิตการสูญเสียเงิน นะครับ"

แหล่ง ข้อมูลจาก : http://www.thaienergynews.com

ถังก๊าซติดรถยนต์มีมาตรฐานหรือไม่ดูอย่างไรว่าปลอดภัย?

ถังก๊าซติดรถยนต์มีมาตรฐานหรือไม่ดูอย่างไรว่าปลอดภัย?



“การผลิตทุก 200 ชิ้นจะสุ่มหยิบมาทดสอบมาตรฐานชิ้นหนึ่ง ผ่านก็คือใช้ได้ทั้งล็ต ถ้าไม่ผ่านก็โดนสอบทีละชิ้นถังก๊าซนี้ได้รับการออกแบบให้รับแรงดันใช้งาน 2.55 เมกะปาสกาล”

ฉบับนี้เราจะพาท่านไปสำรวจท้ายรถยนต์ที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อ เพลิงกันบ้าง เปลี่ยนบรรยากาศจากถังก๊าซกันครัวและโรงบรรจุฯ กับร้านค้าก๊าซที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เมื่อเปิดฝากกระโปรงหลัง(รถ) จะพบถังก๊าซที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน มอก.370-2525 เรื่อง ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน (แก้ไขครั้งที่ 1) สังเกตที่สัญลักษณ์มาตรฐาน มอก.370-2525 ตอกที่ตัวถังก๊าซมีความจุไม่เกิน 500 ลูกบาศก์เดซิเมตร อันแปลได้ว่าถังก๊าซที่ได้มาตรฐานตามนี้จะมีความจุไม่เกิน 50 ลิตร หรือประมาณน้ำหนักก๊าซหุงต้ม 25 กิโลกรัม รูปทรงกึ่งทรงกลม (Hemispherical) หรือรูปวงรี (Ellipsoidal) ซึ่งแปลไทยเป็นไทยแบบง่ายๆ ว่า ถังทรงเม็ดยา เพราะมีทรวดทรงละม้ายเม็ดยาแคปซูลยาวๆ รีๆ ที่เราคุ้นตากัน ดังนั้น ถ้าพบถังรุปทรงโดนัท จึงเป็นถังที่ยังไม่มีมาตรฐานของไทยรับรอง



มีข้อกำหนดให้มีการสุ่มตัวอย่างถังที่ผลิตในโรงงานมาทดสอบตา มาตรฐานทางทหารของอเมริกา (Military Standard- ปลแบบทื่อๆ จ้า ยังนึกคำศัพท์ที่หเมาะสมกว่านี้ไม่ออก) การผลิตทุก 200 ชิ้นจะสุ่มหยิบมาทดสอบมาตรฐานชิ้นหนึ่งผ่านก็คือใช้ทั้งล็อต ถ้าไม่ผ่านก็โดนสอบทีละชิ้น ถังก๊าซนี้ได้รับการออกแบบให้รับแรงดันใช้งาน 2.55 เมกะปาสกาล (370 psi) โดยสุ่มทดสอบความดันที่เรียกว่า ความดันไฮดรอลิกพิสูจน์และความดันไฮดรอลิกขยายตัว ด้วยการเติมน้ำเข้าถังจนเต็ม เพิ่มแรงดันเป็น 3.30 เมกะปาสกาล (475 psi) ทิ้งไว้ 30 วินาที ถ้าแรงดันในถังไม่ตกก็แสดงว่าถังไม่รั่ว ให้เทน้ำออกแล้วไล่ความชื้นโดยใช้อากาศแห้งหรือไนโตรเจนหรือความร้อนไม่เกิน 200 องศาเซลเซียสแล้วนำไป ทดสอบการรั่วซึ่ม โดยการอัดอากาศด้วยความดัน 690 กิโลปาสกาล (100 psi) จุ่มลงในน้ำทั้งใบเพื่อตรวจหารอยรั่ว ถ้าไม่พบก็สามารถนำมาจำหน่ายได้ เวลาออกจากโรงงาน ถังก็จะได้มาตรฐาน แต่พอติดตั้งแล้วโกร่งกำบังหรือฝาครอบลิ้นมักจะหายไปตามกาลเวลา (ดังรูปด้านล่าง) โดยที่คนขับรถมักจะไม่ทราบว่า มาตรฐาน มอก370-2525 ข้อ 4.4 ระบุว่าในกรณีที่ยานพาหนะเก็บถังไว้ภายในส่วนหน้า หรือส่วนท้ายของตัวรถ ต้องมีการป้องกันการระบายหรือการรั่วซึมของก๊าซจากลิ้นเครื่องวัดและกล อุปกรณ์นิรภัย อันเนื่องมาจากความดันเกินกำหนด หรือเกิดการชำระรั่วซึมขึ้น ทั้งนี้ต้องระบายก๊าซออกนอกตัวรถเพื่อป้องกันก๊าซแทรกวึมเข้าไปภายในห้องคน ขับ การป้องกันทำได้โดยทำโกร่งกำบังลิ้น หรือฝาครอบลิ้นให้มีรูปร่างลักษณะเป็นกล่องครอบปิดและเครื่องวัดต่างๆ ส่วนฝาปิดด้านบนให้ใช้แผ่นกระจกใสหรือแผ่นพลาสติกใสปิดไว้ เพื่อสามารถตรวจดูเครื่องวัดต่างๆ ได้ และที่ฝาปิดอาจเจาะรูต่อแกนออกมานอกกล่องสำหรับปิด-เปิดลิ้นบรรจุและลิ้นใช้ งาน หรือต่อท่อสำหรับลิ้นบรรจุไว้นอกตัวรถได้


ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งาน บริเวณรอบขอบกล่องและรูที่เจาะนี้ต้องหุ้มปิดด้วยยางกันรั่วโดยรอบ โครงกล่องต้องเจาะรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร หรือมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 2,00 ตารางมิลลิเมตร แล้วต่อท่อระบายก๊าซลงสู่ใต้ท้องรถ และอยู่ห่างจากท่อไอเสียไม่น้อยกว่า 250 มิลลิเมตร ทีมงานเราแอบเห็นรถหลายๆ คันกระจกครอบแตกบ้างฝากครอบหายบ้าง รถใครใช้ก๊าซหุงต้มอยู่ก็ลองไปเปิดท้ายดูเองนะ เพราะถ้าเกิดก๊าซรั่วสะสมเดี๋ยวจะวูปในรถทำให้เดือดร้อนทั้งตัวเองและคนใกล้ ชิด

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กรองแอร์นั้นสำคัญอย่างไร?


หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่ารถรุ่นใหม่ เดี๋ยวนี้เค้ามีกรองแอร์แล้ว
บางท่านทราบแล้วแต่อาจคิดว่าไม่เห็นจำเป็นต้องใช้ ก็รถเราใช้มาตั้งหลายปีแล้ว
ไม่เห็นมันจะเป็นไรเลย แล้วตกลงมันยังไงกันล่ะเนี่ย


โดยปกติแล้ว ระบบแอร์ในรถยนต์จะทำงานโดยให้พัดลม (Blower) เป่าอากาศไปที่คอยล์เย็น (Evaporator)
แล้วลมจะเป็นตัวนำพาความเย็นจากคอยล์แอร์ มายังผู้โดยสาร
(บางระบบจะให้พัดลมดูดความเย็นแล้วเป่าไปที่ผู้โดยสาร) เมื่อใช้ไปนานๆ ฝุ่น และสิ่งสกปรกต่างๆ เช่น
เกสรดอกไม้ เส้นผม ขนสัตว์ เศษใบไม้ ใบหญ้า จะเข้าไปติดอยู่ที่คอยล์เย็น เกิดผลให้

1.
ลมที่พัดมายังผู้โดยสารเบา แอร์ไม่เย็น ทำให้ต้องเร่งพัดลมแอร์ เร่งความเย็นมากขึ้น
เป็นผลให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น

2.
สิ่งสกปรก และเชื้อโรคต่างๆ ที่สะสมอยู่ตรงคอยล์เย็น เล็ดลอดมายังผู้โดยสาร
ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ คัดจมูก ในบางคน


3.
เมื่อสิ่งสกปรกเหล่านั้นไปเกาะคอยล์เย็นมากๆ บางครั้งเกาะจนแข็ง ตอนใช้งานปกติก็ไม่เป็นอะไร
แต่เมื่อถึงเวลาไปล้างแอร์ ปรากฎว่าคอยล์เย็นรั่ว (ประมาณ 30-40% และขึ้นอยู่กับความสกปรกของตู้แอร์)
เนื่องจากสิ่งสกปรกเหล่านี้ ได้ไปกัดกร่อนแผงคอยล์เย็นทำให้เกิดรูรั่วโดยที่ฝุ่นเหล่านั้นอุดรูรั่วอยู่
แต่หลังล้างแอร์สิ่งสกปรกที่อุดรูรั่วเหล่านั้นถูกล้างออกไป คอยล์เย็นรั่ว ทำให้แอร์ไม่เย็น



ดังนั้น วิศวกรยานยนต์จึงได้คิดค้น Air Filter เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นเกาะคอยล์เย็น
โดยออกแบบตู้แอร์ ให้ใส่ Filter ได้ เพื่อให้ Air Filter กรองสิ่งสกปรก ก่อนที่จะเข้าไปถึงคอยล์เย็น



ประโยชน์ที่ได้ จากการติดตั้ง Air Filter

ามารถกรองฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ และเชื้อราในอากาศซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้
ช่วยยืดอายุการใช้งานของคอยล์เย็นไม่ทำให้แอร์ตันจากฝุ่น ยืดระยะเวลาการล้างตู้แอร์

ช่วยยืดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์แอร์ เนื่องจากตู้แอร์ไม่มีฝุ่น
จึงสามารถทำความเย็นได้เร็วขึ้น เป็นผลให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานน้อยลง


ลดปัญหาเสียงดังอี๊ดอ๊าดจากการถอดเข้า-ออก ของคอลโซลเพื่อล้างตู้แอร์ในรถ
(รื้อออกมาล้าง ประกอบใหม่ อาจหลวม ไม่แน่นเหมือนเดิม)


ทำให้เบาะและคอลโซลในรถยนต์ไม่หมองเร็ว เพราะฝุ่นละอองในอากาศ