จากการอภิปรายใน หัวข้อเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นสำหรับภาคขนส่งสรุปได้ว่า
• เป็นที่ยอมรับกันว่าระบบขนส่งด้วยรางและระบบขนส่งทางน้ำเป็นระบบที่ควรได้ รับการส่งเสริมให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบขนส่งทางถนนด้วย
• รถยนต์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในประเทศไทยยังมีประสิทธิภาพต่ำ สิ้นเปลืองน้ำมันมาก และปล่อยมลพิษ รวมถึงปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง
• ในปี พ.ศ. 2553 จะเริ่มมีการ ผลิตอีโค-คาร์ (Eco-car) ซึ่งกำหนดให้มีขนาดความจุกระบอก สูบของเครื่องยนต์ระหว่าง 1300 – 1400 ซีซี มีอัตราการใช้น้ำมันดีกว่า 20 กม./ลิตร มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมยูโร 4 และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 120 กรัม/กม. เป็นต้น
• ปัจจุบันมีการจำหน่ายรถยนต์ลูกผสม (Hybrid car) อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ และได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกินน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำ อาจประหยัดน้ำมันได้ถึง 50% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการออกแบบและการใช้งาน รถยนต์ลูกผสมส่วนใหญ่ใช้การขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในร่วมกับ พลังงานไฟฟ้า
• ภายใน 1-2 ปีนี้ จะมีการจำหน่ายรถยนต์ลูกผสม – ปลั๊กอิน (Hybrid – plug-in) ซึ่งจะใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนรถยนต์มากขึ้น อาจเดินทางได้ถึง 60 กม. โดยใช้เพียงพลังงานไฟฟ้า ต่อจากนั้นเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในจึงจะทำงาน การชาร์จแบตเตอรี่แต่ละครั้งอาจใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หากต้องการชาร์จให้เต็ม อาจชาร์จทิ้งไว้ทั้งคืน เทคโนโลยีตัวนี้น่าจะได้รับการสนับสนุนให้มีการใช้และ/หรือผลิตในประเทศ หากมีตลาดมากพอ
• ปัจจุบันมีการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าอยู่บ้าง ซึ่งมักเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก วิ่งได้ต่ำกว่า 80 กม.
• สำหรับการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งยังต้องการการพัฒนาให้วิ่งได้หลายร้อยกิโลเมตรสำหรับการชาร์จ 1 ครั้ง และสามารถชาร์จได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 15 นาที คาดว่ายังจะใช้เวลาอีกหลายปี รถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวมักเรียกกันว่ารถยนต์ไฟฟ้า-ปลั๊กอิน (Plug-in electric car) เป็นที่เชื่อกันว่ารถยนต์ไฟฟ้า-ปลั๊กอิน จะเข้ามาทดแทนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในเกือบทั้งหมดภายในเวลา ประมาณ 20 ปี
• การใช้เอทานอลเพียง 10% กับน้ำมันเบนซิน ซึ่งเรียกกันว่า E10 จะมีประโยชน์มาก เพราะเป็นการทดแทนการใช้สาร MTBE เพื่อการเพิ่มตัวเลขออกเทน สาร MTBE เป็นสารก่อมะเร็ง และ ถูกห้ามใช้ในบางประเทศ หากผสมมากขึ้น เช่น E20 ก็ยังมีประโยชน์ แต่หากผสมสูงถึง 85% (E85) อาจจะมีคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากวัตถุดิบคงจะมีไม่เพียงพอ
เอทานอลได้จากการหมักน้ำตาล ซึ่ง วัตถุดิบที่ใช้ในปัจจุบันในประเทศไทย ได้แก่ แป้ง และน้ำตาล หากใช้วัตถุดิบจำพวกแป้ง จะต้องใช้พลังงานฟอสซิลในการผลิตเอทานอลสูงถึง 70% ซึ่งอาจไม่ได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากนัก นอกจากนี้มีไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนการใช้ E85 ดังนั้นเครื่องยนต์สำหรับ E85 อาจมีขนาดของตลาดค่อนข้างเล็กมาก และไม่น่าจะมีตลาดเพื่อส่งออกในอนาคต
• รถยนต์ไฟฟ้า-ปลั๊กอิน มี ข้อดีคือ ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากว่าการผลิตไฟฟ้าไม่มีการปล่อยก๊าซดังกล่าวเช่นกัน เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน หรือแม้แต่โรงไฟฟ้าถ่านหิน หากมีการจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้อย่างถาวร ในกรณีหลังนี้มีต้นแบบแล้ว
• การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก น่ายังจะมีความจำเป็นต่อไป ดังนั้นไบ โอดีเซลจึงเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก
• ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มใช้พลังงานฟอสซิลต่ำกว่า 20% ซึ่งดีกว่าเอทานอลมาก ประเด็นนโยบายที่สำคัญคือ การกำหนดร้อยละของไบโอดีเซลที่จะนำมาผสมกับน้ำมันดีเซล เพราะหากกำหนดให้สูงเกินไป จะมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบมีไม่เพียงพอ และจะกระทบถึงอุตสาหกรรมอาหารและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากผสมเพียง 2% ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบไม่เพียงพอ
• รถยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง ยังจะไม่มีผลิตขายกันอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากยังต้องวิจัยและพัฒนาอีกนานพอสมควร
• ควรเปลี่ยนแปลงนโยบายโครงสร้างภาษีรถยนต์ จากเดิม ซึ่งคิดภาษีตามปริมาตรกระบอกสูบของเครื่องยนต์เป็น การคิดภาษีตามความสิ้นเปลืองพลังงาน (กม./ลิตร) และ/หรือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (กรัม CO2/กม.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น