น้ำมันเบรค (Brake Fluid)
ใน ขณะที่เราเบรค ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างผ้าเบรคกับจานหรือดุมล้อจะถ่ายเทผ่าน ก้านดันผ้าเบรคเข้าสู่ลูกสูบและน้ำมันเบรค เมื่อเราต้องเหยียบเบรคอย่างแรงกระทันหันหรือเหยียบเบรคอยู่บ่อยๆ ภายใต้ความเร็วสูง ความร้อนที่ถ่ายเทสู่น้ำมันเบรคจะมีปริมาณมากและอาจระบายสู่ส่วนอื่นไม่ทัน ทำให้น้ำมันร้อนขึ้นมาก หากน้ำมันเบรคร้อนจนถึงจุดเดือดของมัน มันก็จะระเหยกลายเป็นไอในกระบอกสูบเบรคที่ล้อทันที และเมื่อระบายความร้อนออกไปได้ ไอก็จะยุบตัวเป็นของเหลว ในช่วงนี้จะไม่มีแรงดันที่จะไปกระทำต่อลูกสูบเบรคให้ไปดันผ้าเบรค ทำให้เกิดอาการเหมือนไม่มีเบรคและเบรคไม่อยู่ได้ ดังนั้นจุดเดือดของน้ำมันเบรคจึงมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการเบรคมากดัง กล่าว
โดยปกติน้ำมันเบรคเป็นสารที่ดูดซับความชื้นจากอากาศได้ และสามารถผสมตัวเข้ากับน้ำมันเนื้อเดียวกัน เมื่อมีความชื้นปะปนอยู่จุดเดือดของน้ำมันเบรคจะลดต่ำลง น้ำมันเบรคใดที่มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้น้อย และเมื่อดูดซับความชื้นแล้วจุดเดือดลดต่ำลงไม่มาก จะเป็นน้ำมันเบรคที่มีคุณภาพสูงเพราะในการใช้งานโอกาสที่ความชื้นจะเล็ดลอด สู่น้ำมันเบรคในระบบมีได้มากมายหลายทาง เช่น ความชื้นเข้าโดยการหายใจเข้าออกของระบบน้ำมันเบรคตรงฝากระปุกเบรค น้ำจากการอัดฉีดล้างเครื่องรถสามารถเข้าสู่กระปุกน้ำมันเบรคได้หากไม่ระมัด ระวังเมื่อขับรถลุยน้ำ และยางกันฝุ่นสึกหรือไม่รัดแน่น น้ำก็สามารถเข้าสู่น้ำมันเบรคได้ตรงลูกสูบเบรคที่ล้อ ดังนั้นเมื่อใช้งานไปน้ำมันเบรคก็จะชื้นมากขึ้นเรื่อยๆ และน้ำมันเบรคใดที่ขึ้นช้ากว่าและจุดเดือดเมื่อชื้นสูงกว่าก็จะยังคงรักษา สมรรถนะการเบรคไว้ได้
ผลต่อยางและส่วนโลหะอื่นในระบบเบรคก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะบ่งถึงคุณภาพน้ำ มันเบรค เพราะจะมีผลโดยตรงต่ออายุการใช้งานของลูกยางแม่ปั๊ม/ลูกปั๊มเบรค ซึ่งก็จะมีผลถึงประสิทธิภาพการเบรคเช่นกันน้ำมันเบรคที่มีคุณภาพสูงต้องไม่ ทำให้ลูกยางแม่ปั๊มเบรคคลัทซ์เสียเร็ว และต้องไม่กัดกร่อนส่วนโลหะอาจทำให้มีเศษสนิมโลหะหลุดร่อนออกมาอยู่ในน้ำมัน เบรค และจะทำให้ลูกยางปั๊มเบรคเป็นรอยขีดข่วนเกิดการรั่วและเสียแรงดัน เบรคไม่อยู่ หรือหากรั่วข้างเดียวก็จะเบรคแล้วปัดได้
สมาคมวิศวกรยานยนต์ในอเมริกา (SAE) และกรมการขนส่งของอเมริกา (Department of Transporttation - DOT) และสมาคมกำหนดมาตรฐานระหว่างชาติ (ISO) ต่างก็ได้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเบรคที่ใช้ในระบบเบรคของยานพาหนะซึ่งเป็นที่ ยอมรับและใช้กันทั่วไป มาตรฐานล่าสุดในขณะนี้ (1982) ของ SAE คือ SAE 1703 Jan.'80 ที่ได้แก้ไขปรับปรุงจากมาตรฐาน SAE J1703f ซึ่งออกในปี 1978 ส่วนของ DOT คือมาตรฐาน U.S.Federal Motor Vehicle Safety Standard ( FMVSS) No.116 DOT3,DOT4 และDOT5 ( DOT5 เป็นมาตรฐานน้ำมันเบรคประเภทน้ำมันซิลิโคนไม่นิยมใช้งานในรถยนต์) มาตรฐานของ ISO คือ ISO 4925 - 1978 มาตรฐานต่างๆ ดังกล่าว ได้กำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของน้ำมันเบรคในยานยนต์ไว้หลายประการ คุณสมบัติที่สำคัญๆ ได้เปรียบเทียบไว้ในตารางแนบพร้อมกับค่า Typical Test Figure ของ น้ำมันเบรค เกรดต่างๆ
คุณสมบัติที่สำคัญของน้ำมันเบรคที่มีผลต่อสมรรถนะการเบรคก็คือ จุดเดือดเมื่อแห้ง เมื่อชื้นผลต่อยางแม่ปั๊มและลูกสูบเบรค และต่อส่วนต่างๆของระบบเบรค
ในมาตรฐานทั้ง SAEJ1703 และ U.S.FMVSS 116 DOT3, DOT4 และ ISO 4925 - 1978 ได้กำหนดคุณสมบัติด้านจุดเดือดเมื่อแห้งและเมื่อชื้นเอาไว้โดยที่น้ำมันเบรค ที่ดีจะต้องมีจุดเดือดสูงเมื่อทั้งแห้งและชื้น
ผ้าดิสก์เบรคที่มีจำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดขณะนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
1. กลุ่มผ้าดิสก์เบรคราคาถูกทั่วไปที่มีส่วนผสมของสาร Asbestos หรือที่เรียกกันว่า "ผ้าใบ" จะมีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ คุณสมบัติในการเบรค จะใช้ได้ในความเร็วต่ำๆ หรือระยะต้นๆ แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ประสิทธิภาพในการเบรคจะลดลงอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ อายุการใช้งานจะสั้น ผ้าดิสก์เบรคหมดเร็ว นอกจากนั้นแร่ใยหินมีผลต่อสุขภาพ ในปัจจุบันจึงมีการใช้น้อยลง
2. กลุ่มที่ไม่มีส่วนผสมของสาร Asbestor หรือกลุ่ม Non-organic แบ่งออกเป็น 2ชนิด คือ
2.1 ชนิดที่มีส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นโลหะ (Semi-metallic) จะเป็นผ้าดิสก์เบรคของผู้ผลิตจากยุโรป หรืออเมริกา เช่น Bendix Mintex
2.2 ชนิดที่มีส่วนผสมของสารอนินทรีย์อื่นๆ จะเป็นผ้าดิสก์เบรคของผู้ผลิตจากญี่ปุ่นเช่น Akebono
ทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นผ้าดิสก์เบรคที่เกรดใกล้เคียงกัน
คุณสมบัติที่สำคัญของผ้าดิสก์เบรค
ผ้าดิสก์เบรคที่มีสัมประสิทธิ์ของความฝืดสูง จะมีผลต่อการเบรคได้ดีกว่า เป็นผลให้สามารถสร้างกลไกเบรคให้เล็กลงได้ และต้องการแรงเหยียบเบรคน้อยลง อย่างไรก็ตาม เบรคที่มีสัมประสิทธิ์สูงทำให้ยากต่อการควบคุม ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาศูนย์ล้อให้ถูกต้องให้สอดคล้องกันด้วย
การสึกหรอของผ้าดิสก์เบรคเปลี่ยนแปลงไปตามความเร็วของรถยนต์ และอุณหภูมิเบรค อย่างไรก็ตาม ผ้าดิสก์เบรคที่ทนทานต่อการสึกหรอได้ดี จะเป็นเหตุให้จานเบรคเกิดการสึกหรอ หรือเกิดรอยมากเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของรถไม่ต้องการ
เมื่ออุณหภูมิของผ้าเบรคเพิ่มขึ้น เนื่องจากความฝืดซึ่งทำให้เกิดความร้อน สัมประสิทธิ์ทางความฝืดจะลดลง และผลในการเบรคลดลง เป็นเหตุให้การเบรคไม่มีความแน่นอน ปรากฎการณ์นี้เป็นที่ทราบกันคือการเบรคไม่อยู่
เมื่อเบรคร้อนซึ่งเป็นสาเหตุให้สัมประสิทธิ์ลดลง ผ้าเบรคจะต้องสามารถเย็นลงไปสู่สัมประสิทธิ์เดิมได้ เรียกว่า การชดเชยผ้าเบรคที่มีการเปลี่ยนแปลงสัมประสิทธิ์ไปตามอุณหภูมิน้อย เป็นผ้าเบรคชนิดที่คุณภาพดี อย่างไรก็ตาม ตามความจริงผ้าเบรคที่มีพื้นที่น้อยจะมีความร้อนได้ง่ายกว่า ทำให้สัมประสิทธิ์ลดลง และมีผลต่อประสิทธิภาพในการเบรค
การเบรคไม่อยู่ก็อาจเกิดขึ้นได้ง่ายจากการที่ผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรคไม่ถูก ต้อง และการที่ผ้าเบรคจับไม่สม่ำเสมอก็จะเป็นสาเหตุให้เบรคดึงข้างไดข้างหนึ่ง
ผิวหน้าสัมผัสของผ้าเบรคข้างซ้ายและขวาไม่จับที่ตำแหน่งเดียวกัน หรือจับไม่เท่ากันก็จะเป็นเหตุให้อุณหภูมิของเบรคทั้ง2ข้างไม่เท่ากัน ทำให้เบรคดึงไปข้างใดข้างหนึ่ง
เปรียบเทียบความฝืด(Friction) กับอุณหภูมิ(Temperature)
- ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรคยังไม่มีเกิดความร้อน ผ้าเบรค Asbestos จะมีความฝืดมากกว่าผ้าเบรค Metallic
- แต่เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง หรือผ้าเบรคเกิดความร้อน มีอุณหภูมิสูงขึ้นแล้ว ผ้าเบรค Metallic จะมีความฝืดมากกว่า ผ้าเบรค Asbestos
นั่นคือ ในช่วงแรกของการใช้งาน เมื่อรถเคลื่อนตัว ผ้าเบรค Asbestos จะเบรคได้ดีกว่าผ้าเบรค Metallic แต่เมื่อความเร็วสูงขึ้น ผ้าเบรค Metallic จะสามารถเบรคได้ดีกว่าผ้าเบรค Asbestos
- ณ ที่อุณหภูมิต่ำ หรือขณะที่ผ้าเบรคยังไม่เกิดความร้อน การสึกของผ้าเบรค Metallic กับผ้าเบรค Asbestos จะพอๆกัน
- เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ผ้าเบรค Asbestos จะมีการสึกหรอมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ผ้าเบรค Metallic การสึกหรอจะค่อยลดลง นั่นก็คือความทนทานต่อการสึกหรอ ของผ้าเบรค Metallic จะสูงกว่าผ้าเบรค Asbestos
ระบบเบรค คือ องค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของรถยนต์ที่จะมอบความปลอดภัยในการขับขี่ของผู้ใช้ รถยนต์ และน้ำมันเบรคก็คือ ตัวการสำคัญที่จะทำให้ระบบเบรคทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโตโยต้าจึงได้ พัฒนาน้ำมันเบรคที่มีประสิทธิภาพสูงและเหมาะกับระบบเบรคและคลัทช์ของรถยนต์ โตโยต้าโดยเฉพาะ
ระบบเบรค ทำหน้าที่ลดความเร็วรถ หรือบังคับให้หยุดทำงาน โดยอาศัยแรงเสียดทานระหว่างชิ้นส่วนที่อยู่ นิ่งกับล้อที่หมุนแรงเสียดทาน เมื่อผู้ขับขี่เหยียบแป้นเบรคแม่ปั๊มเบรคจะดันส่งน้ำมันเบรคภายใต้กำลังดัน ไปยังล้อต่าง ๆ ผ่านทางแป๊บเบรคและท่อที่ล้อน้ำมันเบรคจะดันก้ามปู และผ้าเบรคให้อัดกับจานเบรค หรือดุมล้อที่กำลังหมุนการกระทำเช่นนี้จะลดหรือหยุดการหมุนของล้อ
น้ำมันเบรคที่มีจุดเดือดสูงจะให้ประสิทธิภาพเบรคที่ดี แม้อยู่ในสภาวะร้อนจัดภายใต้สภาพการใช้งานทั่วไป น้ำมันเบรคทุกชนิดจะดูดความชื้นไว้ อันเป็นผลให้น้ำมันเบรคมีจุดเดือดลดลง นอกจากนี้การที่น้ำมันเบรคเดือดก็เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งของการเกิดฟองใน ระบบเบรคซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพการเบรคลดลง ดังนั้นน้ำมันเบรคโตโยต้า จึงได้รับการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้ลดการดูดความชื้นลง และรักษาจุดเดือดให้คงที่ ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดฟองในระบบเบรคให้ประสิทธิภาพการเบรคที่ดีเยี่ยม
น้ำมันเบรคโตโยต้า มีส่วนประกอบทางเคมีหลัก ๆ อยู่ 3 จำพวก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของน้ำมันให้ได้เกณฑ์มาตรฐานสากล ได้แก่
1. สารประกอบตัวทำละลาย พวก Glycol Ethers ซึ่งจะถูกใช้เป็นส่วนผสมหลักทั่วไป
2. สาร Polymer ซึ่งเป็นตัวเพิ่มความหล่อลื่นให้น้ำมันเบรค และรักษาความคงตัวของความหนืดของ น้ำมันเบรค เพื่อป้องกันการรั่วซึมจากลูกยางหรือซีลต่าง ๆ
3. สารเพิ่มคุณภาพ ที่มีคุณสมบัติในการเคลือบผิวของกระบอกเบรค และคลัทช์ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่จะเกิดขึ้น และป้องกันการเกิดสนิม
คุณสมบัติของน้ำมันเบรคโตโยต้า DOT 3
1. จุดเดือดสูงถึง 250 องศาเซลเซียส สามารถทนความร้อนในขณะเบรคอย่างเฉียบพลันโดยน้ำมันเบรคไม่เปลี่ยนสถานภาพ เป็นฟองอากาศ (Foam vapor bubbles) ในระบบเบรค
2. จุดเดือดชื้นสูงถึง 154 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะในการคงสภาพของน้ำมันเบรคโตโยต้า คือ การดูดความชื้นในบรรยากาศเข้าไว้ในตัวเองน้อยกว่าน้ำมันเบรคอื่น ๆ จึงทำให้จุดเดือดของน้ำมันเบรคเมื่ออุณหภูมิลดลงมาสู่จุดเดือดชื้นที่ต่ำ กว่า โดยที่จุดเดือดชื้นนี้เหมาะสมกับระบบเบรคของโตโยต้า
3. ความหนืดคงที่ โดยไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น (ที่ 100 องศาเซลเซียส) หรือลดลงที่ (-40 องศาเซลเซียส) ถ้าความหนืดสูงที่อุณหภูมิต่ำ จะทำให้เกิดอาการสั่นขณะเบรคความหนืดต่ำที่อุณหภูมิสูง จะทำให้น้ำมันเบรคเข้าไปหล่อลื่นไม่เพียงพอทำให้เกิดความเสียหายในแม่ปั๊ม เบรค
4. ป้องกันการกัดกร่อนชิ้นส่วนที่เป็นยางและโลหะ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของลูกสูบยางเบรคและกระบอกเบรค โดยทำการทดสอบพิเศษกับโลหะ 8 ชนิด ได้แก่ สังกะสี แผ่นเหล็กบางอลูมิเนียม เหล็กหล่อ เหล็กกล้า อลูมิเนียมหล่อทองเหลืองและทองแดง
5. ไม่เกิดตะกอน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการอุดตัน หรือทำให้ลูกสูบยางเกิดการชำรุดขณะที่ระบบเบรคทำงาน
1. เพื่อยืดอายุการใช้งานของระบบเบรค และเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่สมบูรณ์ในการเบรคควรเปลี่ยนน้ำมันเบรคโตโยต้า DOT 3 ทุก ๆ 2 ปี หรือ 40,000 กม.
2. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค และคลัทช์ของรถยนต์โตโยต้าทุกรุ่น ควรใช้น้ำมันเบรคโตโยต้ามาตรฐาน DOT 3 เท่านั้น
- ไม่ควรใช้น้ำมันเบรคชนิด DOT 4 แทน DOT 3 เนื่องจากส่วนผสมทางเคมีของน้ำมันเบรคDOT 4 อาจทำให้ชิ้นส่วนของลูกยางเบรคบวมได้
3. อย่าใช้น้ำมันเบรคต่างชนิดกัน หรือปนกันทั้ง DOT3 และ DOT4เพราะจะทำให้เกิดปฎิกิริยาทางเคมี ซึ่งเป็นสาเหตุให้คุณสมบัติของน้ำมันเบรคเปลี่ยนแปลงไป
4. การตรวจระดับน้ำมันเบรค และน้ำมันคลัทช์ระดับน้ำมันเบรคในกระปุกสามารถมองเห็นได้ ซึ่งระดับของน้ำมันเบรคควรอยู่ใกล้เคียง กับระดับที่ถูกต้อง คือ ไม่ควรต่ำกว่าระดับ " MAX " ประมาณ 10 มม. ส่วนน้ำมันคลัทช์ไม่ควรให้ต่ำกว่าระดับ " MAX " ประมาณ 5 มม. ถ้าต่ำกว่านั้นให้เติมจนอยู่ในระดับ และควรตรวจ
ระดับน้ำมันเบรคทุกครั้งที่ตรวจน้ำมันเครื่อง เมื่อผ้าเบรคสึกเนื่องจาก การใช้งานน้ำมันเบรคอาจจะลดลงบ้าง จึงควรเติมให้เต็มอยู่เสมอถ้าระดับน้ำมันเบรค หรือคลัทช์ลดลงจากระดับอย่างรวดเร็วอาจมีปัญหาเกิดขึ้นกับระบบควรรับทำการ ตรวจเช็คสาเหตุ
5. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค
5.1 ยกรถขึ้น
5.2 คลายปลั๊กไล่ลมที่เบรคออก 1/2 รอบ แล้วเสียบท่อพลาสติกบนหัวปลั๊กปิด และปล่อยท่ออีกข้างจุ่มอยู่ในกระบอกที่มีน้ำมันเบรคสะอาดอยู่
5.3 ย้ำเบรคจนกระทั่งน้ำมันเบรคให้ถ้วยเหลือเพียง 1/4 อย่าปล่อยให้ระดับน้ำมันเบรคแห้งถ้าปล่อยให้แห้ง จะต้องทำการไล่ลมเบรค ดังนั้น ควรเช็คระดับน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ
5.4 เมื่อระดับน้ำมันเบรคเหลือเพียง 1/4 ของถ้วย ให้ปิดปลั๊กไล่ลม แล้วเติมน้ำมันเบรค ให้ถึงขีด MAX
5.5 ทำการย้ำเบรคไปจนกระทั่งน้ำมันเบรคใหม่ไหลออกจากปลั๊กไล่ลม
5.6 เมื่อน้ำมันเบรคใหม่เริ่มไหลออกมา ให้ย้ำเบรค 2-3 ครั้ง แล้วเหยียบเบรคค้างไว้
5.7 คลายปลั๊กไล่ลมออก 1/4 รอบ จนแน่ใจว่าไม่มีฟองอากาศออกมาจากปลั๊กไล่ลมแล้วขันกลับให้แน่น
5.8 กระทำขั้นตอนที่ 5.6 และ 5.7 ซ้ำ จนไม่มีฟองอากาศในท่อพลาสติก
5.9 ดำเนินการเช่นเดียวกัน (ขั้นตอนที่ 5.2-5.8 ที่อื่น ๆ ตามลำดับที่แสดงข้างล่าง)
5.10 เติมน้ำมันเบรคให้ถึงขีด MAX
5.11 ตรวจการทำงานอย่างถูกต้อง โดยเหยียบเบรคค้างไว้จะมีระยะความสูงของแป้นเบรคมากและจะรู้สึกแข็ง
5.12 ตรวจการรั่วของน้ำมันเบรคในระบบขณะเหยียบแป้นเบรคจนสุด
- อย่าใช้น้ำมันเบรคซึ่งเก็บสต๊อกไว้นาน เนื่องจากน้ำมันเบรคเป็นสารที่สามารถดูดความชื้น ดังนั้น หลังจากใช้แล้ว ต้องปิดฝาให้สนิท ในกรณีที่มีน้ำมันเบรคเหลือ
- อย่าให้ฝุ่นลงไปในถ้วยแม่ปั๊มเบรค
- ถ้าน้ำมันเบรคหกบนผิวสี ให้ทำการล้างออกทันทีเนื่องจากน้ำมันจะกัดสี
- การเติมน้ำมันเบรคควรใช้ความระมัดระวัง เนื่องจากน้ำมันเป็นอันตรายต่อดวงตา
-จริงๆ แค่ อัพเกรดผ้าเบรคดีๆ ก็เห็นผลแล้วครับสำหับสมรรถนะการเบรค
- เปลี่ยนจานเบรคให้คุณภาพดีขึ้น จานเบรคดีๆ จะสามรถทนความร้อนได้สูง ทำให้เบรคได้ดี ไม่เฟดง่าย และไม่คดง่ายด้วย
- เปลี่ยนจานเบรคขนาดใหญ่ขึ้น และคุณภาพดีขึ้น อันนี้นอกจากคุณภาพการทนความร้อนของจานเบรคแล้ว ขนาดของจานเบรคที่เพิ่มขึ้นนอกจากจะ ดูสวยเต็มล้อแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเบรคได้อีกด้วย เหมือนกับการถอดน๊อตล้อด้วยประเจด้ามสั้น กับประแจด้ามยาว ด้านยาวจะออกแรงน้อยกว่า เช่นเดียวกัน กับจานใหญ่ การเบรคก็จะใช้แรงเบรคน้อยลงด้วยครับ
- caliper เบรคที่ใหญ่ขึ้น จำนวนสูบที่มากขึ้น ก็สามารถช่วย เพิ่มประสิทธิภาพการเบรคขึ้นได้เช่นกัน เบรคที่ใหญ่ขึ้น หน้าสัมผัสกับ จานเบรคก็จะมากขึ้น แรงกดจากลูกสูกสูปที่มากขึ้นก็จะช่วยให้ระยะเบรคลดลงครับ นอกจาก ประสิทธิภาพการเบรคที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังถือเป็นอุปกรณ์ตกแต่งของรถเลยก็ว่าได้ บางคันใส่ถึง6pot เลยก็มี แต่ราคาก็สูงมากๆ ตามด้วย
-หม้อลมเบรค(เพิ่มแรงกดให้กับระบบเบรค)
-สายอ่อนเบรคแบบถัก (สายเบรคทนแรงดันได้มากขึ้น) ถ้าหาได้แบบเป็นชุดkitเลยก็จะมีพวกนี้มาด้วย
-น้ำมันเบรคเกรดสูงขึ้น (น้ำมันเบรคจะไม่เดือดเป็นฟองง่าย เวลาใช้งานหนักๆ)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaiautoclub.com/brakefluid.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น